พิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “การวิจัย และนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)”
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “การวิจัย และนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)” ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งได้เข้ารับโล่การเป็นเครือข่ายเจ้าภาพร่วม จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ณ ห้องประชุม Meeting Hall สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์ภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยในการผลิตและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติ แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าเชิงวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เป็นหน่วยงานเครือข่ายเจ้าภาพร่วมจรในการจัดการประชุมดังกล่าว โดยได้นำนักวิจัยเข้าร่วมนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ทั้ง Onsite และ Online และนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่
1) ชื่อผลงาน พลวัตบ้านปกาเกอะญอ: การศึกษามรดกสถาปัตยกรรมผ่านการสร้างสื่อมานุษยวิทยาทัศนา หัวหน้าโครงการ อ.พิสุทธิลักษณ์ บุญโต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2) ชื่อผลงาน แนวทางการจัดการการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักอาเซียน และตามความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม หัวหน้าโครงการ อ.ตุลยนุสรญ์ สุภาษา วิทยาลัยนานาชาติ
3) ชื่อผลงาน การประยุกต์ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อพืชอย่างง่ายเพื่อชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์จากเนื้อเยื้อพรมมิ หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) ชื่อผลงาน ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ที่ส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สภาพละลายได้และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.อโนดาษ์ รัชเวทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการประชุมนอกจากมีการนำเสนอผลงานวิจัยแล้วยังมีการจัดนิทรรศการตลาดสินค้าซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาด เพื่อสร้างรายได้ในกับตำบลภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) อีกด้วย