สทน.ประกาศผล Product Champion“อาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ” พร้อมเชิญชวนชมพิธีมอบรางวัล 19 พ.ค. 66 นี้

สทน.ประกาศผล Product Champion“อาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ”
พร้อมเชิญชวนชมพิธีมอบรางวัล 19 พ.ค. 66 นี้ 

        ภายหลังจากที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ได้เปิดรับสมัครผลิตภัณฑ์“อาหารพื้นถิ่น” พื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมประกวดโครงการ “Product Champion” ขณะนี้ ได้สรุปผลตัดสินผลิตภัณฑ์ที่ชนะเลิศในแต่ละจุดดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 19 พฤษภาคม นี้ ที่ สทน. คลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผู้สนใจติดตามชมได้ทางFacebook Fanpage : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

       สำหรับผลการประกวดในแต่ละจุดดำเนินการ มีดังนี้ จุดดำเนินการที่ 1 มรภ.เชียงราย รางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดถึงเกณฑ์ที่ได้รับรางวัล ส่วนรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แยมสามสหายล้านนา จากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านไม้หอม โฮม แอนด์ ฟาร์ม จ.เชียงราย และผลิตภัณฑ์ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืน แม่จัน จ.เชียงราย

          จุดดำเนินการที่ 2 มรภ.เชียงใหม่ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ สตรอเบอรี่อบแห้ง จาก ฮานาดะฟาร์ม จ.เชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ น้ำพริกข่า จาก น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์  จ.เชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ลูกอมชิง Bigmatch จาก หจก.ธิติพูนผล จ.เชียงใหม่

          จุดดำเนินการที่ 3 มรภ.กำแพงเพชร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ แป้งกล้วยไข่ จาก คุณอัญชลีพร แสงเอี่ยม จ.กำแพงเพชร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ชาเกสรกล้วยไข่ ชาหัวปลีกล้วยไข่ จาก คุณสุกัญญา จันทะเกตุ  จ.กำแพงเพชร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ น้ำพริกน้ำย้อยไข่เค็ม จาก คุณณัฐกานต์ พงษ์สุวรรณ จ.กำแพงเพชร

          สำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละจุดดำเนินการจะได้รับเงินรางวัล มูลค่า 10,000 บาท ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 รวมถึงรางวัลชมเชย จะได้รับโล่และใบประกาศจาก สทน. ทั้งนี้ การประกวดโครงการ “Product Champion” ภาคเหนือ ได้เริ่มดำเนินการ มาตั้งแต่พฤศจิกายน 2565  มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 131 ผลิตภัณฑ์ โดยมีเกณฑ์พิจารณาที่สำคัญ คือ เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ชุมชน และสามารถใช้รังสีในการยกระดับคุณภาพหรือมูลค่า เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

ไฟล์แนบ
ไม่มีไฟล์แนบ

สถาบันวิจัยและพัฒนา

“ภายในปี 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเป็นศูนย์กลาง องค์กรหลักในการขับเคลื่อน งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย และการบริการวิชาการแก่สังคมให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับชาติและระดับนานาชาติ”

ข้อมูลติดต่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (สถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น B2) อาคารอำนวยการและบริหารกลาง ศูนย์แม่ริม หมู่ 7 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ตำบลขี้เหล็ก, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่, 50180

research@g.cmru.ac.th

โทรศัพท์ 062-310-4911

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่