
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์จุฬาวลี มณีเลิศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1024-61-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลการพัฒนาระบบและประเมินคุณภาพระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการแบบเจาะจง และกลุ่มผู้ใช้สำหรับทดลองใช้ระบบได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ป่วย ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การประเมินการใช้ระบบด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คนในครอบครัวมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาเป็นโรคเบาหวาน และยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทที่มีไขมันสูง และมีพฤติกรรมการดื่มน้ำชา กาแฟ และน้ำอัดลมอยู่ ระบบระบบติดตามและแจ้งเตือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถจัดกลุ่มผู้ใช้ตามเกณฑ์การคัดกรองโรคตาม “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ได้ สามารถติดตามและแจ้งเตือนผลการตรวจร่างกายของผู้ป่วยได้ ระบบสามารถให้คำแนะนำสำหรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ และแสดงผลข้อมูลออกมาในรูปแบบของกราฟได้ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของระบบโดยผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับ และนำไปทดลองใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนชุมชน มีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับมาก
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2564
ปีที่ตีพิมพ์ :2564
598 05 เม.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445