ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่แสดงสินค้าและหน้าร้านกลุ่มพัฒนาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบ้านต้นโจ๊ก(คำซาว) ตำบล สันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

1058-61-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่แสดงสินค้าและหน้าร้านกลุ่มพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบ้านต้นโจ๊ก (คำซาว)ตำบล สันกำแพง อำเภอสันกำแพงมี วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1) เพื่อออกแบบหน้าร้านและพื้นที่แสดงสินค้า ของกลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี บ้านต้นโจ๊ก (คำซาว) ตำบล สันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดตกแต่งภายในพื้นที่แสดงสินค้าและพื้นที่หน้าร้าน ของกลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบ้านต้นโจ๊ก (คำซาว) ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินความพึ่งพอใจต่อรูปแบบการจัดตกแต่งภายในพื้นที่แสดงสินค้าและพื้นที่หน้าร้าน ของกลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบ้านต้นโจ๊ก (คำซาว) ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของผู้บริโภค เป็นการสร้างกรอบแนวคิดเพื่อใช้เป็นโจทย์ที่ใกล้กับความเป็นจริงของผู้ใช้บริการร้านค้าชุมชน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บแบบสอบถามข้อมูลด้วยตนเองพร้อมอธิบายข้อมูลประกอบ โดยได้รับแบสอบถามทั้งหมดครบสมบูรณ์ คิดเป็น 100 % จำนวน 100 ชุด ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของผู้บริโภคพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นมีจำนวนการใช้บริการร้านค้าชุมชนต่อสัปดาห์ จำนวน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์คิดเป็น ร้อยละ 86 ประเภทสินค้าที่มักซื้อบ่อยที่สุด คือผ้า คิดเป็นร้อยละ 58 การออกแบบตกแต่งร้านค้าชุมชนที่ทำให้สามารถจดจำจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ คือ บรรยากาศการตกแต่ง คิดเป็นร้อยละ 45 ส่วนใดของร้านควรเป็นจุดแรกที่ควรนึกถึง คือ การตกแต่งร้าน คิดเป็นร้อยละ 57 คิดว่าส่วนไหนของร้านที่ควรปรับปรุงมากที่สุด คือ การตกแต่งร้าน คิดเป็นร้อยละ 69 คิดว่ารูปแบบการตกแต่งร้านค้าสินค้าชุมชนควรเป็นแบบไหน คือ รูปแบบเอกลักษณ์ท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ 45 คิดว่าในการใช้สีกับร้านค้าสินค้าชุมชนควรใช้สีอะไรในการออกแบบ คือ สีเหลืองอ่อน คิดเป็นร้อยละ 43 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกระบวนการวัดประสิทธิภาพของแบบตกแต่งร้าน ครั้งที่ 1 จำนวน 3 แบบ คือ แบบ A , แบบ B, แบบ C พบว่า ประสิทธิภาพของแบบตกแต่งภายในพื้นที่แสดงสินค้าแบบA ส่วนใหญ่ให้ความเห็นเท่ากัน คือด้านการออกแบบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 อยู่ระดับดีมาก และผลประสิทธิภาพของแบบตกแต่งภายใน แบบB ส่วนใหญ่ ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 อยู่ในระดับดีมาก และประสิทธิภาพแบบตกแต่งภายในแบบ C ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.82 จากแบบประเมินแบบตกแต่งภายในร้านค้าสินค้าชุมชน แบบ A , แบบ B , แบบ C พบว่าผู้ประเมินเลือกรูปแบบที่สามารถจดจำได้ง่าย มีความดึงดูดความสนใจและมีการสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนได้ดี ผู้วิจัยจึงนำแบบพัฒนาและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะในขั้นตอนต่อไป คือแบบ D ได้ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ จากประชากรกลุ่มตัวอย่าง 30 คน พบว่า ประสิทธิภาพของการตกแต่งภายในแบบ D ส่วนใหญ่ ด้านความงาม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44 อยู่ในระดับดีมาก และผลการวิเคราะห์ความพึ่งพอใจของงานตกแต่งภายในร้านค้าสินค้าชุมชนจากสถานที่จริงเป็นแบบคำถามแบบเลือกตอบแบบประเมินความพึงพอใจ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านต้นโจ้ก (คำซาว) จำนวน 30 คน พบว่าความพึงพอใจของการตกแต่งภายในร้านค้าส้นค้าชุมชนจำนวน 30 คน ส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจต่อการออกแบบตกแต่งคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ในความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือ ใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานในการใช้งานระยะยาว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 อยู่ในระดับดีมากและการบำรุงรักษามีความง่ายต่อการใช้งานค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 อยู่ในระดับดีมาก

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564

ปีที่ตีพิมพ์ :2564

364 04 เม.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่