ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัว ชนเผ่ากะเหรี่ยงแดง บ้านดอยแสง ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์พงศ์กร ทิพย์ปัญญา

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1062-62-MAE-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวชนเผ่ากะเหรี่ยงแดง บ้านดอยแสง ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวชนเผ่ากะเหรี่ยงแดง บ้านดอยแสง ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวชนเผ่ากะเหรี่ยงแดง บ้านดอยแสง ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ศึกษาคือ ชนเผ่ากระเหรี่ยงแดง บ้านดอยแสง ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนประชากรชนเผ่ากระเหรี่ยงแดง จำนวน 350 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างโดยเจาะจงกำหนดโควตา ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด การจัดอันดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 55-64 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีสภาพสมรส ระดับการศึกษาไม่ได้รับการศึกษา อาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวเดือนละ 5,001–10,000 บาท และอยู่ร่วมกันในครอบครัวที่มีสมาชิกต่ำกว่า 5 คน 2) ปัจจัยภายในครอบครัว พบว่า ปัจจัยภายในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นประเด็นหลักพบว่า ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่เกิดจากความเชื่อ อยู่ในระดับมาก รองลงมา การปฏิบัติเพื่อการรักษาพยาบาลครอบครัว อยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ของครอบครัวกับเครือญาติ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ การปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาแยกเป็นประเด็น พบว่า ได้สอบถามถึงสภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพภายในครอบครัว เมื่อมีปัญหาสุขภาพ อยู่ในระดับมาก และรับรู้ข่าวสารเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพในครอบครัว อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 3) ปัจจัยภายในชุมชน พบว่า ปัจจัยภายในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นประเด็นหลัก พบว่า การได้รับสิ่งสนับสนุนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับมาก รองลงมา การได้รับสิ่งสนับสนุนจากผู้นำชุมชน อยู่ในระดับมาก และการได้รับสิ่งสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 4) ความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัว พบว่า ความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวชนเผ่ากระเหรี่ยงแดง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในครอบครัวและปัจจัยภายในชุมชนกับระดับความมั่นคงด้านสุขภาพของครอบครัวมิติสุขภาพทางกาย มิติสุขภาพทางจิตใจ มิติสุขภาพทางสังคมและมิติสุขภาพทางปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

Research studies Factors Relating to Health Security of Red Karen tribes, Ban Doi Saeng, Pang Moo Subdistrict, Mueang Mae Hong Son District Mae Hong Son Province The objectives of this research are as follows: 1) To study the health security of the Red Karen family, Ban Doi Saeng, Pang Moo Subdistrict, Mueang District, Mae Hong Son Province. 2) To study factors that relate to health security of the Red Karen family, Ban Doi Saeng, Pang Mu Subdistrict, Mueang District, Mae Hong Son Province. The research found that Health security of the Red Karen family, Doi Saeng, Pang Moo Subdistrict, Mueang, Maehongson Province The overall level was moderate. Factors related to health security of the Red Karen family, Doi Saeng , found that family factors included family health promotion There is a positive relationship with health dimensions, mental health. Social health dimensions and intellectual health dimensions. Practice to prevent illness and illness. There is a positive relationship with health security. Mental health and mental health dimensions. Family Practice There is a positive relationship with health dimensions, mental health. Dimensions and dimensions of intellectual health And the relationship of family with kinship. There is a positive relationship with health dimensions, mental health. Dimensions and dimensions of intellectual health Factors within the community include getting support from community leaders. Positive correlations with health security, social health dimensions. Get support from religious leaders. Positive relationship with health security, mental health dimension. Social health dimensions and intellectual health dimensions. Get support from the District Health Promotion Hospital. There were positive correlations with health security, physical health dimensions, and social health dimensions. And getting support from the local community administration. There is a positive relationship with health security. Physical health Statistically significant at the 0.05 level

ไฟล์งานวิจัย

กิติกรรมประกาศ 2562.pdf

บทคัดย่อ 2562.pdf

บทที่ 4.pdf

บทที่ 5.docx.pdf

บทที่-1.pdf

บทที่-2.pdf

บทที่-3.docx.pdf

บรรณานุกรม.pdf

แบบสอบถาม2.pdf

ปก 2562.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564

ปีที่ตีพิมพ์ :2564

32 21 มี.ค. 2562

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่