ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์บุปผา คำนวณ

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1068-62-MAE-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหาแนวทางการสร้างรูปแบบของการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งกองมูจำนวน 45 ครัวเรือน นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชุมชนทุ่งกองมู เป็นสมุดบัญชีตามรูปแบบแบบฟอร์มที่ใช้บันทึกบัญชีอย่างง่ายที่ออกแบบด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกบัญชีครัวเรือน เพราะชุมชนขาดความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชีครัวเรือน พบว่า ชุมชนทุ่งกองมูสนใจการบันทึกบัญชีครัวเรือนตามรูปแบบสมุดบัญชีของนักวิจัย โดยมีการจัดพิมพ์ชื่อบัญชีรายรับและรายจ่ายมาให้ล่วงหน้าแล้ว ผู้บันทึกบัญชีเพียงแต่ใส่จำนวนเงินที่รับและจ่ายเท่านั้น ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ชุมชนจึงได้นำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงการบันทึกบัญชีโดยใช้รูปแบบสมุดบัญชีของนักวิจัย ทำให้ชุมชนรู้รายรับ รายจ่ายในครัวเรือน แล้วสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ รวมทั้งทำให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ : รูปแบบ,บัญชีครัวเรือน,กลุ่มชาติพันธุ์

Abstract

This research The objective of the research is To study the knowledge and understanding of household accounting in Tai Yai ethnic groups in Mueang District Mae Hong Son Province To find ways to create a model for household accounting of Tai Yai ethnic groups in Muang district Mae Hong Son Province And to study the problems and obstacles in the preparation of household accounts of Tai Yai ethnic groups in Mueang District Mae Hong Son Province Population used in the research is Household, community, Ban Thung Kong Mu recall of 45 households, the data collected was analyzed qualitatively and reporting. The statistics used for data analysis are Descriptive statistics with percentage, mean andstandard deviation. The study indicated that The format of household accounting of Thung Kong Mu community is an account book according to the format A simple form for accounting entries designed by yourself. Most do not record household accounts. Because the community lacks the understanding of household accounting The development of a household that community pastures Thung Kong Mu interests are accounted for following the pattern of household account book of the researcher by the name of publisher revenue and expenditure accounts to advance. Accountants only enter the amount received and paid. Making it even more communities , so the knowledge of existing improvement recorded by the form book, the researchers make the community realize the income of the household, and can reduce costs not necessary to have well made. The community has realized the importance of recording household accounts more. Keywords: format, household account, ethnic group

ไฟล์งานวิจัย

กิติกรรมประกาศ.pdf

บทคัดย่อ.pdf

บทที่ 1.pdf

บทที่ 2.pdf

บทที่ 3.pdf

บทที่ 4.pdf

บทที่ 5.pdf

บรรณานุกรม.pdf

ปก.pdf

ประวัติผู้วิจัย.pdf

ภาคผนวก(1).pdf

ภาคผนวก(2).pdf

ภาคผนวก(3).pdf

สารบัญ.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลา ปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563) หน้า 28-40

ปีที่ตีพิมพ์ :2563

51 21 มี.ค. 2562

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่