
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นายภูดิท อักษรดิษฐ์
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
เลขทะเบียน :
1069-62-MAE-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการมีส่วนร่วมในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2562 จำนวน 50 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้วิจัยจำนวน 1 คน ผู้บริหารจำนวน 6 คน และฝ่ายสนับสนุนกิจกรรม จำนวน 3 คน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ พิจารณาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) ขั้นวางแผนการปฏิบัติงาน 3) ขั้นปฏิบัติตามแผน 4) ขั้นติดตามประเมินผลระหว่างการปฏิบัติงาน และ 5) ขั้นประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย และแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ค่าความเชื่อมั่นภายในสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) ของครอนบาคเท่ากับ 0.880 ซึ่งถือว่ามีความเชื่อมั่นในระดับมาก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัย พบว่า จากกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในกระบวน การวิจัยทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ การสร้างความตระหลักในปัญหา และร่วมกันกำหนดสาเหตุของปัญหาร่วมกัน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อกระบวนการวิจัยเป็นอย่างมาก เพราะการที่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้นจะต้องให้บุคคลดังกล่าวได้ตระหลักและเห็นความสำคัญของปัญหานี้เสียก่อน จากการเข้าร่วมกิจกรรมในขั้นตอนนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในปัญหาของการวิจัยเป็นอย่างดี จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวตัดสินใจเข้าร่วมในกระบวนการวิจัยและร่วมกันคิดค้นหาสาเหตุของปัญหาจนนำไปสู้ขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันขั้นตอนนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน และสอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่ทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เมื่อทุกฝ่ายได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้วจึงนำแนวทางดังกล่าวไปร่วมกับเขียนเป็นโครงการ ไปปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติงานร่วมกันนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้จึงนำไปสู่ขั้นตอนการประเมินผลในระหว่างการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ส่วนการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดกระบวนการวิจัยนั้นเป็นขั้นตอนที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาร่วมกัน ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย มีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง และสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างไรบ้าง ซึ่งพบว่าผลที่สุดกระบวนการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน และการเห็นอกเห็นใจกันระหว่างบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน และนำไปใช้ในการร่วมกันแก้ปัญหาอื่น ๆ ในวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนต่อไป การนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ดังนี้ 1. ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.18, S.D. = .61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ( x ̅ = 4.52 , S.D. = .55) รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ ลักษณะงานที่น่าสนใจ ( x ̅ = 4.23 , S.D. = .53) การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการทำงาน ( x ̅ = 4.07 , S.D. = .65) การยอมรับนับถือ ( x ̅ = 4.05 , S.D. = .63) และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ( x ̅ = 4.01 , S.D. = .71) ตามลำดับ 2. ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅ = 4.25, S.D. = .68) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางอาชีพในองค์กร ( x ̅ = 4.42 , S.D. = .67) รองลงมา คือ ภาวะการทำงาน ( x ̅ = 4.30 , S.D. = .63) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ( x ̅ = 4.28 , S.D. = .66) นโยบายและการบริหาร ( x ̅ = 4.23 , S.D. = .64) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ( x ̅ = 4.17 , S.D. = .81) และ การติดตามและประเมินผล ( x ̅ = 4.12 , S.D. = .68) ตามลำดับ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนนั้นมีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาใน การปฏิบัติงานในหน่วยงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ สถานภาพ และประเภทของบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งกระบวนการวิจัยนี้สามารถระดมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการวิจัยได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย และผู้เข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกคนมีความเต็มใจเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการวิจัย คำสำคัญ : ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน, บุคลากรมหาวิทยาลัย, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม
Abstract
Abstract The purpose of this research presents the effects of participatory action research to increase work performance efficiency in Mae Hong Son College, Chiang Mai Rajabhat University for the academic year 2019. The research people were 50 employees and there was collaboration while this research process had included 1 researcher, 6 executives, and 3 activity support officers. This participatory action research process consisted of 5 steps which are 1) Analytical Study on Problems 2) Planning 3) implementing 4) On-going Implantation monitoring and 5) Post Implementation Follow up. The research instrument was an informal interview and questionnaire. The reliability by Cronbach’s alpha coefficient was high level ( α =0.880). The data was analyzed by using mean, standard deviation, narrative analyzed and Chi=Square Test. The results are divided into two parts which are an informal interview and questionnaires. Firstly, the data is from an informal interview. It shown information and the opinion toward the participatory research. The participants had participated from the beginning processes till final processes; they brainstormed and discussed about causes and effects of the problems, solutions, SWOT analysis and the effective work performance though collaborations. Therefore, the finding revealed that increasing work performance efficiency of employees of Mae Hong Son College was achieved collaboratively through both instructors and staffs and work out for solutions together in the organization. Secondly ,the data from questionnaires, There are two factors which are internals and exactors; 1) The findings were revealed that the overall results of the Internal factors effecting with the work performance efficiency of employee at the high level (x= 4.18, SD = .61), showing the following aspects; Performance to work successfully ( x ̅ = 4.52 , S.D. = .55), an interesting job characteristic ( x ̅ = 4.23 , S.D. = .53), employee involvement and responsibility ( x ̅ = 4.05 , S.D. = .63), employee recognition in workplace and career advancement ( x ̅ = 4.01 , S.D. = .71). 2) the external factors effecting with the work performance efficiency of employee at the high level (x= 4.25, SD = .68), showing the following aspects; career advancement and stability at workplace ( x ̅ = 4.42 , S.D. = .67), working conditions ( x ̅ = 4.30, S.D. = .63), relationship between colleagues at workplace ( x ̅ = 4.28 , S.D. = .66), Policy and management ( x ̅ = 4.23 , S.D. = .64), compensation and benefits ( x ̅ = 4.17 , S.D. = .81) and monitoring and evaluation in the workplace ( x ̅ = 4.12 , S.D. = .68). Finally, According to the relationship between the work performance efficiency and the employee with difference sex, education background, salary and working period at the workplace was a significant level of 0.05. However, there was no significant level of 0.05 of the relationship between work performance efficiency and the employee with difference age, personal status, and different staff departments. Finally, this research can be accomplished by the collaboration with all employees of Mae Hong Son College through all stages of the research processes consistently. Keywords: Work Performance Efficiency, Employee and Participatory Action Research
ไฟล์งานวิจัย
32 21 มี.ค. 2562

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555