ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 3


รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวุฒิ สมยานะ

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1072-62-MGT-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาศัยการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) กับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 28 กลุ่ม อภิปรายผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ได้แนวทาง 1) พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรตามข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) 4 กลุ่มเกษตรกร และ 2) มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ 7 กลุ่มเกษตรกร 3) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 138.52 จาก 25 ชนิดพืช 4) สามารถพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรได้ 18 ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดระดับประเทศ 5) สามารถพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรได้ 3 ระดับคือ ระดับขั้นความพอเพียง ระดับการรวมกลุ่ม และระดับการสร้างเครือข่ายตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6) สามารถส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐได้ 18 อปท. 7) สามารถต่อยอดสินค้าเกษตรสู่ระบบอาหารปลอดภัย (food safety) คือ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่ง 8) สามารถพัฒนาสินค้าเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ คือ กาแฟคั่วบดในรูปแบบซองดริป 9) สามารถพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ 5 ชุมชน และ 10) สามารถจัดการความรู้ (KM) โดยสร้างองค์ความรู้ให้ได้ 17 สินค้า จนสามารถให้กลุ่มเกษตรกรเพิ่มศักยภาพการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ โดยความร่วมมือกับ อปท. จนสามารถขยายผลไปยังพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พร้อมทั้งยกระดับการแข่งขันในตลาดพรีเมี่ยมระดับอาเซียนได้มากขึ้น

Abstract

This research aims to develop the potentiality of Chiang Mai agricultural community creatively for ASEAN Economic community competition base on sufficiency economy philosophy. The study was carried out using participatory research (PAR) methodology on a basis of 28 farmer groups. The results were discussed using descriptive statistics of frequency, percentage, and standard deviation. The research could enhance the potentiality of agricultural sector resulting in creative outputs as follows 1) development of agricultural product standards, according to Good Agricultural Practices (GAP) of food crops for four farmer groups and 2) the production standard of organic products for seven farmer groups 3) increase in agricultural production efficiency by an average of 138.5% from 25 plant types 4) development of 28 agricultural products to national market 5) development of three levels of agribusiness namely, a basic sufficiency, consolidation, and network building base on sufficiency economy philosophy 6) promoting the agricultural sector of 18 local government organisation 7) continuation of agricultural product, cereal bar to food safety system 8) development of agricultural product, ground-roasted coffee in a drip bag to commercial benefits 9) development potentiality of five agro-tourism communities 10) knowledge management of 17 product items. This research could increase in the potentiality of creative development with local authorities cooperation and extension in the northern areas, as well as more upgrade to compete in the ASEAN premium market.

ไฟล์งานวิจัย

1. AEC ปก 62_OKRD.pdf

2. AEC กิตติกรรมประกาศ 62_OKRD.pdf

3. AEC บทคัดย่อ 62_OKRD.pdf

4. AEC สารบัญ 62_OKRD.pdf

5. AEC บทที่ 1-62_OKRD.pdf

6. AEC บทที่ 2-62_OKRD.pdf

7. AEC บทที่ 3-62_OKRD.pdf

8. AEC บทที่ 4-62_OKRD.pdf

9. AEC บทที่ 5-62_OKRD.pdf

10. AEC บทที่ 6-62_OKRD.pdf

11. ACE-บรรณานุกรม_62_OKRD.pdf

12. AEC ภาคผนวก 62_OKRD.pdf

13. AEC ประวัตินักวิจัย 62_OKRD.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (2019): กรกฎาคม – ธันวาคม 2562

ปีที่ตีพิมพ์ :2562

115 18 ธ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่