
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพ การแข่งขันในอาเซียน ปีที่ 3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธ์หทัย ตันสุหัข
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1074-62-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง“การวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน” ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การสร้างและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์มาตรฐานสินค้าเกษตรพรีเมี่ยมของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 6 อำเภอ 14 ชุมชน 18 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อเข้าสู่ประชมคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research )การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามงานวิจัย (แต่ละกลุ่มเกษตรกร) แบบประเมินคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าของกลุ่มเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในการประเมินจัดกลุ่มระดับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับผลิตภัณฑ์ Premium ระดับผลิตภัณฑ์ Classic ระดับผลิตภัณฑ์ Standard และระดับผลิตภัณฑ์ Rising Star และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และสังเกตใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ในการวิเคราะห์ เพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 18 ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย 1) ระดับ Premium จำนวน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ 2) ระดับ Classic จำนวน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ 3) ระดับ Standard จำนวน 12 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และ 4) Rising Star ไม่พบ ทั้งนี้ ต่อไป ผลการวิเคราะห์ระดับตลาดผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 18 ผลิตภัณฑ์ อยู่ในตลาดระดับประเทศ โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องพัฒนาการดำเนินงานบางประการ เพื่อยกระดับเป็นสินค้าระดับ Premium อย่างสมบูรณ์และมีความพร้อมสำหรับการก้าวไปสู่ตลาดอาเซียน
Abstract
The research entitled “Marketing development for Chiang Mai agricultural products community to compete in ASEAN” Is under a series of research project “research and developing the potential of Chiang Mai agricultural community creativity for ASEAN Economic Community competition base on sufficiency economy philosophy (R&D AGGIE for AEC) Phase 3”. The objectives were to develop the management potential of the agricultural communities in Chiang Mai province, to analyze the standards of premium agricultural products of Chiang Mai province, and to develop the competitiveness of the agricultural market of Chiang Mai in ASEAN. The study was performed a sampling on 6 districts, 14 communities, and 18 products, which were prepared to develop the market potential of agricultural products towards the upcoming ASEAN community. It was quantitative research together with qualitative research. Quantitative data were collected from research surveys (each farmer group), quality and standard evaluation form of agricultural products obtained from agricultural communities in Chiang Mai. The evaluation criteria of quality and standards for each community were 4 product levels; premium, classic, standard, and rising star. The qualitative analysis of interviews, observations, and content analysis were used for confirmation and enhancement the complete quantitative data. The results showed that the 18 community products in Chiang Mai were classified into 4 product levels, 1) 4 groups of premium product level 2) 3 groups of classic product level 3) 12 groups of standard product level and 4) no rising star product level. In addition, analysis of the agricultural market was found that all 18 community product groups in Chiang Mai were placed in the national market. Each of which was required to some operational development to perfectly reach a premium product level and then step into the ASEAN market.
ไฟล์งานวิจัย
112 09 ก.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445