
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิจัยเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปีที่ 3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภีมภณ มณีธร
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1082-62-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการต่อยอดงานวิจัยภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 ตำบล 4 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชมคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติ เชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 4 กลุ่มเกษตรกร พบเพียง 1 กลุ่มเกษตรกรที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในช่วงระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟดอยหวาน มีศักยภาพสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดในรูปแบบซองพกพาหรือซองดริป การได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ (1) การรับซื้อเมล็ดกาแฟที่ผ่านกระบวนการคั่วสำเร็จตามสูตรที่ต้องการจากกลุ่มเกษตรกร (2) นำเมล็ดกาแฟคั่วสำเร็จตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ (3) จัดส่งเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคั่วและตรวจสอบรสชาติแล้วไปยังโรงงานเอกชนเพื่อจ้างบดและบรรจุ อัดก๊าซไนโตรเจนในซองเพื่อรักษาคุณภาพของผงกาแฟจนได้ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปแบบซองพกพา หรือซองดริป (4) ดำเนินการขอขึ้นทะเบียน อย. 4 (5) ขนส่งกาแฟที่บรรจุแล้วจัดเก็บในคลังเพื่อรอจำหน่ายต่อไป เมื่อดำเนินการทั้งกระบวนการแล้วเสร็จ กาแฟผงสำเร็จรูปแบบซองพกพา ขนาด ซอง 8 กรัม จำนวน 7,000 ซอง จะมีต้นทุนอยู่ที่ 22.1896 บาท ต่อ 1 ซอง และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวมทั้งสิ้น 5,350 บาท จำนวนเงินที่ต้องใช้ลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ขนาด 8 กรัม จำนวนการผลิตขั้นต่ำที่ 7,000 ซอง จะมียอดเงินที่ใช้ในการลงทุนรวมทั้งสิ้น 160,677.2 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ด้านการกำหนดราคาขายเนื่องกาแฟที่ผลิตได้จัดอยู่ในหมวดของกาแฟเพื่อสุขภาพ ดังนั้นราคาที่เหมาะสมจึงเท่ากับ 35 บาท ต่อ 1 ซอง โดยอ้างอิงจากราคาขายสินค้าชนิดเดียวกันในท้องตลาด ซึ่งจะได้กำไรจากการขายสินค้าเท่ากับ 12.8104 บาท ด้านการตลาด เกษตรกรควรสำรวจตลาด วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและกระจายสินค้าไปยัง 3 ช่องทางดังนี้ ช่องทางที่ 1 คือ กลุ่มธุรกิจบริการและจัดเลี้ยงที่มีผลิตภัณฑ์กาแฟเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการให้บริการ ช่องทางที่ 2 คือ การประชาสัมพันธ์และการขายสินค้าผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และช่องทางที่ 3 คือการกำหนดราคาสมาชิกที่สั่งซื้อเป็นประจำ เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด จากการทดลองดำเนินโครงการร่วมระหว่างผู้วิจัยและหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งได้นำนักศึกษาในหลักสูตร ชั้นปีที่ 2 ทั้งหมู่เรียน ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชากลยุทธ์การตลาดสำหรับผู้ประกอบการ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายกาแฟคั่วบดสำเร็จรูปในรูปแบบซองดริป ตรา OKRD COFFEE ผลิตโดย บริษัท โอ เค อาร์ ดี ฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟปลอดภัยที่มีลักษณะใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ในงานวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโอกาสในการทำตลาดและการขาย แสวงหาช่องทางที่เหมาะสมในการส่งต่อผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และเพื่อให้เกษรกรเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถจำหน่ายออกสู่ตลาดได้จริง จากการดำเนินโครงการดังกล่าวพบว่าแนวทางที่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและสามารถสร้างยอดขายสินค้าได้จริง คือ ช่องทางขายตรงนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง เช่น กลุ่มผู้ที่รักในการบริโภคกาแฟ กลุ่มผู้ที่รักในสุขภาพ และกลุ่มของผู้บริหารหรือนักธุรกิจที่มีรายได้สูง โดยต้องมีการนำเสนอเรื่องราวและคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุดโดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการดำเนินการดังกล่าว พร้อมการนำสินค้าออกร้านประสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงคุณภาพและรสชาติที่ดีของผลิตภัณฑ์ เป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่อไป จากการดำเนินโครงการในครั้งนี้นักศึกษาสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ถึง 809 ซอง เป็นเงิน 28,315 บาท ในระยะเวลาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นนี้ มีโอกาสในการจำหน่ายไปสู่ตลาดได้จริง ซึ่งหากเกษตรกรสามารถส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาแล้วไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ถูกต้อง ในช่องทางที่เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์ได้ในที่สุด หากเกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในงานวิจัยนี้ จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าต้นน้ำ ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้องค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ ลดข้อจำกัดในด้านเงินทุนที่ต้องใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ปรับแนวคิดจากเกษตรกรผู้ผลิตไปสู่การคิดแบบผู้ประกอบการ คือ สามารถผลิตสินค้าในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ พัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ ส่งตรงสินค้าที่ผลิตได้ไปยังผู้บริโภคในขั้นปลายน้ำด้วยการจัดการด้านการตลาดอย่างเหมาะสม ต่อยอดให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถนำแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือในชุมชนอื่นในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป คำสำคัญ : การต่อยอดผลิตภัณฑ์ ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ การขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การคิดแบบผู้ประกอบการ
Abstract
This research aims to study Chiang Mai agricultural communities’ potentiality as well as ways to improve communities’ agricultural development of in Chiang Mai as for the improvement of Chiang Mai’s agricultural sector communities to take commercial and public advantages under ASEAN Economic Community (AEC). This qualitative research is supported by using the quantitative analysis from primary data of farmers’ group who voluntarily participated in the project through Local Government Organizations for 4 districts and 4 farmer’s groups in total. All of the participants own the potentiality to improve and develop agricultural sectors in order to get commercial and public advantages when compared to AEC. This research is conducted under the participatory action research (PAR), SWOT analysis, and Diamond model of Michael E.Porter, and results and discussions were statistically calculated, the average score which is descriptive statistics and the 6 dimensions evaluation results of the project in order to indicate agricultural communities’ potentiality and ways to improve agricultural development of communities in Chiang Mai to take commercial and public advantages under ASEAN Economic Community (AEC). The results found that only 1 out of 4 farmers’ group owns the agricultural potentiality to improve their products along the period of the research’s implementation. Farmers’ group who plant Doi Whan coffee have potentiality to improve their roasted coffee in the form of a bag or a drip bag. The production of products was done by these methods as follows; (1) Purchasing roasted coffees which have been through roasting process according to the formula as needed from farmers’ group. (2) Roasted coffees were brought to a coffee specialist for a quality check. (3) Coffee seeds which have been roasted were delivered for a taste check and then to a private factory for roasting and packaging processes, compressing nitrogen into coffee bags for quality maintenance. (4) Asking for Food and Drug Administration (FDA) No.4 for a registration request. (5) Roasted coffee bags were transported into an inventory to be ready for distribution. When all steps were done, the cost of a roasted instant coffee bag of 8 grams in total 7,000 bags equals to 22.1896 baht. The expense for the implementation is 5,350 baht. For the investment amount of money for products’ improvement of an 8-gram coffee bag, the minimum order quantity (MOQ) is 7,000 bags. The balance for the investment is 160,677.2 baht which VAT is already included. In terms of pricing, coffee is categorized as a healthy food so that the suitable price per 1 is 35 baht according to the same products’ price on the market, the benefit from selling products is 12.8104 baht. In terms of market, farmers should be observing the market, analyzing target groups to distribute the products through these 3 channels as follows; (1) Businesses related with catering that coffee is used as the main service for guests, (2) Selling products via public relations and social media, (3) Take on pricing for regular customers to reach the target groups who purchase the products as much as possible. The project has been co-operated between the researchers and entrepreneurship program, Department of Business Administration, Faculty of Management Sciences, Chiang Mai Rajabhat University, 2nd year students who enrolled in marketing strategy for entrepreneurship course in the 1st semester, 2019 in total 31 students to be roasted instant coffee representatives (OKRD COFFEE), produced by OKRD Farm Limited Partnership which the products are guaranteed to be safe and is quite similar to this research’s product. The purpose of this research is to study marketing and sales opportunities, seeking suitable ways for target groups to get into products as well as to make the possibility becomes real that the products could stay active and available in the market. Up to 809 OKRD Coffee bags were sold which could bring 28,315 baht as a profit during July – August, helping to realize that agricultural products can be further developed and reach the opportunity to be sold on the market. If farmers develop and present their products to target groups in suitable ways, raising more profit would become possible. If farmers follow research’s best practices, they would be able to change their agricultural systems to be more upstream productivity-oriented as well as cooperating with external organizations to help supporting farmers’ product innovation, reducing limitation of cost in production process, applying new concepts of being farmers into entrepreneurs such as being able to produce upstream products to reach midstream, delivering products to downstream consumers by the most appropriate marketing management, developing to exploit commercial and public advantages under AEC, applying ways to develop the products to further adapt with another agricultural product which has similar types or even in Chiang Mai’s communities to get the most out of commercial and public advantages under AEC in the future. Keyword: To further develop the products, commercial and public advantages, selling products via social media, applying new concepts of being entrepreneurs
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2562) หน้า 97-106
ปีที่ตีพิมพ์ :2562
841 13 พ.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445