ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดป่าเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แรม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.วัชรี หาญเมืองใจ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1088-62-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษานิเวศวิทยา จัดจำแนกชนิดพันธุ์ และความหลากหลายของเห็ดป่า ในพื้นที่ป่าชุมชน ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษานิเวศวิทยา การจัดจำแนกชนิด พันธุ ์ของเห็ดป่าที ่พบ หาความหลากหลายและหาค่าดัชนีความสม่ำเสมอของเห็ดป่าที ่พบ โดยสำรวจ เส้นทางหาของป่า 4 เส้นทางคือเส้นทางบ้านปางไฮ เส้นทางที ่ 1 เส้นทางบ้านปางไฮ เส้นทางที ่ 2 เส้นทางบ้านปางอีกา และเส้นทางบ้านปางแหว ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 พบ เห็ดจำนวนทั้งหมด 231 ชนิด โดยศึกษาแหล่งที่อยู่และลักษณะการเจริญเติบโตของเห็ด พบบนต้นไม้ หรือกิ ่งไม้ทั ้งหมดคิดเป็นร้อยละ 36.79 แหล่งที ่พบบนดิน คิดเป็นร้อยละ 62.34 และเห็ดที ่เกิด ลักษณะอื ่น คิดเป็นร้อยละ 0.43 ค่า pH ดินของเห็ดที ่พบบนดินทั ้งหมดสามารถเจริญได้อยู ่ใน ช่วง 6.3-8.0 ความชื ้นสัมพัทธ์ในอากาศของเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม อยู ่ในช่วง 49-90 % และ ความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู ่ในช่วง 369-919 เมตร จากการสำรวจและจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะ สัณฐานวิทยาภายนอก และสัณฐานวิทยาของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ สามารถจัดจำแนกได้ 13 อันดับ 35 วงศ์ และ 67 สกุล ส่วนอันดับที่พบมากสุด คือ Agaricales คิดเป็นร้อยละ 43.29 ส่วนวงศ์ ที่พบมากที่สุด คือ Tricholomataceae คิดเป็นร้อยละ 10.39 และ จีนัสที่พบมากที่สุด คือ Russula sp. คิดเป็นร้อยละ 8.66 ซึ ่งเป็นกลุ ่มของเห็ดแดง และจัดจำแนกโดยใช้เกณฑ์การใช้ประโยชน์ แบ่งเป็นเห็ดรับประทานได้ คิดเป็นร้อยละ 37.66 รับประทานไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 22.08 และไม่มี ข้อมูลว่ารับประทานได้หรือรับประทานไม่ได้ คิดเป็นร้อยละ 40.26 นำข้อมูลการจัดจำแนกในระดับ สกุลไปทำการแปรผลค่าดัชนีความความหลากหลาย พบว่าเส้นทางบ้านปางอีกา มีค่าดัชนีความ ง หลากหลายมากที ่สุด มีค่าเท่ากับ 3.592 และนำไปหาค่าดัชนีความสม่ำเสมอ พบว่าเส้นทางบ้านปาง ไฮ เส้นทางที่ 2 มีค่าดัชนีความสม่ำเสมอมากที่สุด เท่ากับ 0.106 

Abstract

The study of ecology studies and classification of wild mushrooms varieties in the community forest area, Mae Ram Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Province aim to explore ecology, species classification of wild mushrooms and evenness diversity index. The research was carried out by exploring four forest paths, namely Ban Pang Hai route 1, Ban Pang Hai Route 2, Ban Pang Ee Ka route and Ban Pang Kae during June to August 2019. The result showed that, a total of 231 species of mushrooms were found. In addition, the habitat and growth characteristics of the mushroom were studied. It was found that on all trees or branches, accounting for 36.79 percent. Accounted for 62.34 percent and mushrooms that caused other characteristics Accounted for 0.43 percent. The soil pH of mushrooms found on all soils can grow in the range of 6.3-8.0, the relative humidity of June to August is 49 90% and the altitude above sea level ranges from 369-919 m. In term of the survey and classification using external morphology and spore morphology under a microscope can be classified in 13 order, 35 families and 67 genus. The most common is Agaricales, 43.29 percent, while the most common family is Agaricales. Tricholomataceae accounted for 10.39 percent and genus most common is Russula sp. accounting for 8.66 percent, which is belong to a group of red mushrooms. Moreover, the classification by utilization criteria can be divided into edible mushrooms accounted for 37.66 percent, inedible mushroom can be accounted for 22.08 percent ง and there was no information whether or edible or inedible accounted for 40.26%. In term of genus data information for calculate the diversity index revealed that the Ban Pang Ee Ka route was the highest diversity index 3.592 and the highest evenness index was shown Ban Pang Hai Route 2 0.106. 

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์ อ.วัชรี.pdf

102 14 ม.ค. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่