
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนโลกจริงสำหรับการศึกษา ในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรวนา รัตนชูโชค
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียน :
1104-62-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงสำหรับการศึกษา ในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันโลกเสมือนผสานโลกจริงสำหรับการศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน จำนวน 7 ท่าน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานระบบจำนวน 30 ท่าน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสอบถาม แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบประเมินความพึงพอใจระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นได้จำนวน 15 ภูมิปัญญา และได้นำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบ มาจัดทำหนังสือถ่ายทอดความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอในรูปของข้อความ ภาพนิ่ง และนำเสนอด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงจากหนังสือผู้ใช้งานสามารถใช้กล้องสแกนภาพบริเวณหนังสือแอปพลิเคชันนำเสนอข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะของวีดีโอแอนิเมชัน และแอปพลิเคชันที่พัฒนาได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากก่อนนำไปใช้งาน และ ผลการประเมินความพึงพอใจโดยผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น โลกเสมือนผสานโลกจริง
Abstract
This research project on Application of Augmented Reality Technology for Education on Local Wisdom Conservation: Case Study of Muang Kaen Phatthana Town Municipality, Mae Tang District, Chiang Mai Province was conducted to develop AR Application for Education on Local Wisdom Conservation: Case Study of Muang Kaen Phatthana Town Municipality, Mae Tang District, Chiang Mai Province. The sample group consisted of 7 samples who evaluated efficiency of the application obtained from using purposive sampling and 30 samples who were users obtained from using simple random sampling. Research tools consisted of interview, questionnaire, Efficiency Assessment Form, and Satisfaction Assessment Form. Data were analyzed by using descriptive statistics, mean, and Standard Deviation. The results revealed that data on 15 types of local wisdom could be collected and such obtained data were applied to make a book for transferring knowledge on local wisdom that was presented in the form of messages, photos, and Augmented Reality Technology. From this book, users were able to use cameras to scan photos in this book to present data on local wisdom in the form of animated video. The developed AR Application was assessed on its efficiency by some experts with mean of 4.03 and high level of appropriateness before using. The results of Satisfaction Assessment conducted by users revealed that satisfaction was in high level with mean of 4.26 and Standard Deviation of 0.52. Keyword(s): Local Wisdom, Augmented Reality
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เดือนมกราคม - มิถุนายน 2565
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
326 13 พ.ย. 2562

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445