
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์นฤมล คำปัญญา
คณะครุศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1269-63-EDU-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามสาขาวิชา เพศ อาชีพบิดา มารดา สถานภาพทางเศรษฐกิจ และลักษณะการอบรมเลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 18 สาขาวิชา จำนวน 610 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยพัฒนาจากแบบสำรวจของ Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีรูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมระดับมาก รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพา แบบอิสระ ระดับปานกลาง ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้แบบแข่งขัน และแบบหลีกเลี่ยง รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาในทุกสาขาวิชาจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ยกเว้นเฉพาะนักศึกษาใน 2 สาขา คือ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ สาขาวิชาภาษาไทย ที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมากรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการเปรียบเทียบ สาขาวิชา เพศ อาชีพบิดา มารดา สถานภาพทางเศรษฐกิจ และลักษณะการอบรมเลี้ยงดู มีรูปแบบการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน
Abstract
The purposes of this research were to 1) to study Learning Styles of the Students of Faculty of Education ChiangMai Rajabhat University 2) to compare the learning Styles of students of the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, according to the their gender, parent’s, occupation, economic status and upbringing. The sample group consisted of 18 majors with total number 610 of first year students of Semester 2, Academic Year 2019. The sample group were selected by a specific selection method. The research instrument was a survey form of the learning styles of students from the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, based on a survey by Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman. The data were analyzed by percentage, average, standard deviation, one-way variance analysis, and dual difference analysis by Scheffe method. The research results revealed that: Students from the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University are most agreeable in collaborative learning style, participation, reliance, and independent respectively. They are agreeable moderately in competitive and avoidance learning style. Students’ learning style of all majors was collaborative learning style, except two majors including, agriculture and Thai language, who have a participating learning style.
ไฟล์งานวิจัย
51 30 เม.ย. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555