ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลการใช้ EDPROT MODEL ในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู


อาจารย์ ดร.ประพิณ ขอดแก้ว

คณะครุศาสตร์

เลขทะเบียน :

1270-63-EDU-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู พัฒนารูปแบบการสอนแบบ EDPROT MODEL และหาประสิทธิภาพ และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน แบบEDPROT MODEL ในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิธีดำเนินการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research โดยใช้เทคนิคผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 30 คน และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2/2562 ในภาคเรียนแรก จำนวน 6 หมู่เรียน ๆ ละ 30 คน รวม 180 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 30 คน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แนวทางการจัดการเรียนรู้ EDPROT MODEL แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบตรวจสมรรถนะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู แบ่งเป็น 6 ด้าน ด้านหลักสูตรและห้องปฏิบัติการมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้านการพัฒนานักศึกษา มีความเหมาะสมระดับมาก ผลการพัฒนารูปแบบการสอน EDPROT MODEL ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตมี 6 ขั้น รวม 71 กิจกรรม ได้แก่ ขั้นตระหนักรู้มี 12 กิจกรรม ขั้นสู่การอภิปรายมี 11 กิจกรรม ขั้นขยายการปฏิบัติมี 17 กิจกรรม ขั้นร้อยรัดความรู้มี 12 กิจกรรม ขั้นจัดหมวดหมู่สาระมี 10 กิจกรรม ขั้นรู้สมรรถนะตนเองมี 9 กิจกรรม ทั้ง 6 ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนระบุผลการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนไว้ครบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ 2 ข้อ ด้านทักษะ 4 ข้อ และด้านเจตคติ 6 ข้อ ผลการใช้ EDPROT MODEL ในการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 99.86 ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาครู โดยรวม ระดับมาก (Mean = 4.46) โดยมีคุณลักษณะด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติระดับมากเช่นกัน (Mean = 4.46, 4.47 และ 4.45 ตามลำดับ) คุณลักษณะของผู้เรียนหลังการใช้ EDPROT MODEL ได้รับอิทธิพลทางตรง จากกิจกรรมขั้นจัดหมวดหมู่สาระ ขั้นสร้างความตระหนักรู้และขั้นรู้สมรรถนะตนเอง (rxy = 0.514, 0.409 และ 0.179 ตามลำดับ) ในขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อม โดยขั้นจัดหมวดหมู่สาระมีอิทธิพลผ่านขั้นสร้างความตระหนักรู้ ขั้นรู้สมรรถนะตนเอง และขั้นสร้างความตระหนักรู้ร่วมกับขั้นรู้สมรรถนะตนเอง (rxy = 0.258, 0.125 และ 0.024 ตามลำดับ) และกิจกรรมขั้นสร้างความตระหนักรู้ มีอิทธิพลผ่านขั้นรู้สมรรถนะตนเอง (rxy = 0.039) ผลรวมระหว่างอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ปัจจัยขั้นจัดหมวดหมู่สาระ และขั้นสร้างความตระหนักรู้ (rxy = 0.922 และ 0.448 ตามลำดับ) สรุปได้ว่า ปัจจัยขั้นจัดหมวดหมู่สาระและขั้นสร้างความตระหนักรู้ เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุในโมเดล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะของผู้เรียนได้ร้อยละ 1

Abstract

The purposes of this research were to study the problems in teaching and learning of Graduate Program in Teaching Profession, and to examine and improve the use of EDPROT MODEL in teaching and learning of Graduate Diploma Program in Teaching Profession. This research was mixed-method participatory action research. The population in this research were 30 lecturers, including course directors, lecturers, and advisors, and 180 students from 6 sections who were registered in the graduate diploma program in the semester 2 of the academic year 2019. The samples were 30 lecturers and 60 graduate diploma students. The instruments for data collection were EDPORT MODEL guideline of teaching and learning, questionnaires, and competency assessment forms.Data was analyzed by content analysis and analytical statistics; frequency distribution, percentages, mean, standard deviation and Pearson Correlation Coefficient.The results found that the teaching and learning environment in the graduate diploma program was divided into 6 components with the highest students’ satisfaction with curriculum and laboratory. Additionally, the students were also significantly satisfied with facilities and learning resources, administration, teaching practice, and student support services. The results of EDPROT MODEL improvement in the graduate diploma program indicated in 6 stages with 71 activities: 12 activities of Engagement Stage; 11 activities of Discussion Stage; 17 activities of Practice Stage; 12 activities of Reflection Thinking Stage; 10 activities of Organization Stage; and 9 activities of Talent Test Stage. The 6 stages of EDPROT MODEL established that they improved students’ learning in all 3 dimensions, namely 2 aspects of knowledge, 4 aspects of skills, and 6 aspects of attitudes. The results of using EDPROT MODEL in teaching and learning of Graduate Diploma Program in Teaching Profession revealed that the student’s learning outcomes have significantly improved – accounted for 99.86%. In addition, the students have also developed the desired characteristics (Mean = 4.46)—more specifically, the Mean of knowledge, skills, and attitudes were 4.46, 4.47, and 4.45 respectively. The students’characteristics were directly influenced by the activities in Organization, Engagement, and Talent Test Stages (rxy = 0.514, 0.409, and 0.179 respectively). However, the indirect influences were also found across the stages: Organization through Engagement (rxy = 0.258); Talent Test (rxy = 0.125); and Engagement and Talent Test (rxy = 0.024). The total scores of direct and indirect influences of causal factors were listed as follows in descending order—Organization and Engagement (rxy = 0.922 and 0.448 respectively). In summary, the Organization and Engagement Stages were causal factors in this model and the students’ characteristics variability can be statistically analyzed as the percentage of 1.

ไฟล์งานวิจัย

1. ปกรายงานวิจัย.pdf

2. กิตติกรรมประกาศ.pdf

3. บทคัดย่อภาษาไทย.pdf

4. บทคัดย่อภาษาอักฤษ.pdf

5. สารบัญ.pdf

6. บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา.pdf

7. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf

8. บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย.pdf

9. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.pdf

10. บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (1).pdf

11. บรรณานุกรม.pdf

12. ภาคผนวก ก.pdf

13. ภาคผนวก ข.pdf

14. ภาคผนวก ค.pdf

16. ภาคผนวก ง.pdf

18. ภาคผนวก จ.pdf

19. ภาคผนวก ฉ.pdf

20. ประวัติผู้วิจัย.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - เมษายน 2568

ปีที่ตีพิมพ์ :2568

205 23 มิ.ย. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่