
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์กุสุมา สีดาเพ็ง
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1292-63-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยรูปแบบเทคโนโลยีดิจิตัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้นำหลักการรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์เพื่อที่จะสร้างรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์แบบอีคอมเมิร์ซที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความถูกต้อง และความชัดเจนของข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากแหล่งผลิตหรือชุมชนที่แตกต่างกันได้จากการประเมินความพึงพอใจของระบบโดยผู้วิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 ซึ่งสรุปได้ว่ารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
Abstract
This research has the objective for Development of product information management process Community with digital technology to promote the potential of Ban Kong Hae Community Enterprise, Mae Rim Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Province by introducing the principles of forms of public relations media and online marketing in order to create a form of public relations media to be more recognizable. And then clear information about the Ban Kong Hae Community Enterprise products with information of products’ origins, as well as show the identity, culture, lifestyle, beautiful nature of the province. Moreover, the Ban Kong Hae Community Enterprise entrepreneurs themselves should have knowledge about online marketing, and should emphasize on product’s quality guaranteed by standard quality assurance for building up customers ‘confidence. The experimental and evaluation of satisfaction by the executive of 30 people evaluation of the system was 4.15 and the standard deviation was 0.67. In conclusion, Development of product information management process Community with digital technology to promote the potential of Ban Kong Hae Community Enterprise, Mae Rim Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Province in this research support publicity through online channels very well.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารลวะศรี ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม 2565)
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
32 11 มี.ค. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555