ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การปล่อยแก๊สเรือนกระจกและแก๊สมลพิษจากการเผาในที่โล่งของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563


อาจารย์ ดร.ดวงเดือน เทพนวล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1301-63-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาชีวมวลในขอบเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-เมษายน) ของปี พ.ศ. 2563 จำแนกตามพื้นที่การใช้ประโยชน์ 4 ประเภทได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ปลูกข้าวโพด พื้นที่ป่าเต็งรัง และพื้นที่ป่าเบญจพรรณ โดยคำนวณจากค่าแฟกเตอร์การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณเชื้อเพลิงต่อพื้นที่ และพื้นที่เผาไหม้ พบการเผาในพื้นที่ป่ามากที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2.3 x103 ตารางกิโลเมตร) และจังหวัดเชียงใหม่ (2.2 x103 ตารางกิโลเมตร)  คิดเป็น ร้อยละ 32 และ 30 ของพื้นที่เผาไหม่ใน 9 จังหวัด ขณะที่การเผาในพื้นที่ไร่ข้าวโพดพบมากที่สุดในจังหวัดน่าน (0.3 x103 ตารางกิโลเมตร) ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากการเผาชีวมวลในพื้นที่ 9 จังหวัดรวม 2.3 x106 ตัน ในระยะเวลา 3 เดือนของฤดูแล้ง โดยพบการปล่อยมากที่สุดในเดือนมีนาคม (1.2 x106 ตัน) และเมษายน (1.1 x106 ตัน) จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่หลักที่มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาชีวมวลในที่โล่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า จังหวัดน่านมีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากพื้นที่ปลูกข้าวโพดมากที่สุด

Abstract

This research aims to evaluate emission of carbon dioxide gas (ER), which emitted from open burning in Upper Northern Thailand during dry season (February-April) of 2020. ER of CO2 were classified by burning of rice straw (RS), maize residues (MR) and forest leaf litters from dry dipterocarp forest (DDF) and mixed deciduous forest (MDF). ER were calculated by emission factor of CO2 multiply with fuel load and burn area. The most of burned area were found in forest area in Mae Hong Son (2.3 x103 km2) and Chiang Mai (2.2 x103 km2) province, which were 32% and 30% of total burned area in 9 provinces. While, open burning of agricultural area especially maize crop was found in Nan province (0.3 x103 km2). The total emission of CO2 from 9 provinces during dry season (3 months) were 2.3 x106 Tons. Among them, 1.2 x106 Tons and 1.1 x106 Tons were emitted in March and April, respectively. Mae Hong Son and Chiang Mai provinces were the major area of CO2 emission source from open biomass burning, which were from forest area. The dominant emission of CO2 from maize crop burning was found in Nan province. 

ไฟล์งานวิจัย

33 ดวงเดือน เทพนวล_เนื้อหา รายงานฉบับสมบูรณ์_ลายน้ำ.pdf

33 ดวงเดือน เทพนวล_ปก รายงานฉบับสมบูรณ์_ลายน้ำ.pdf

33 ดวงเดือน เทพนวล_ส่วนต้น รายงานฉบับสมบูรณ์_ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 วันที่ 25 - 28 มกราคม 2564

ปีที่ตีพิมพ์ :2564

27 11 มี.ค. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่