
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ฉัตรศิริ วิภาวิน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียน :
1306-63-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนขี้สะลวง-ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนขี้สะลวง-ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Analytic cross – sectional study) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก และตำบลสะลวง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 287 ตัวอย่าง เพื่องานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi square Test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี (x= 2.79, S.D = 0.53) ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (x= 2.94, S.D = 2.58) พฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก (x = 2.85, S.D = 0.36) ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับลักษณะความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างกิจกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป
Abstract
This research The study of the elderly care model by elderly carers in Khi Saluang-Khi Lek community, Mae Rim, Chiang Mai, was aimed to study the model of care for the elderly by elderly carers in the Khi Saluang-Khilek community, Mae Rim District. Chiang Mai Province: Mixed Methods Research, using an analytic cross-sectional study, the population used in the research was Caregivers of the elderly in the Khi Lek Subdistrict and Saluang Subdistrict, sample groups of 287 samples for this research were collected by questionnaires from interviews. The quantitative data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation statistics. Chi square Test was analyzed for qualitative data by content analysis.
The study indicated that Knowledge in care for the elderly of the elderly caregivers is good (x = 2.79 S.D = 0.53) attitudes in care for the elderly of the elderly caregivers is at a high level (x = 2.94 S.D = 2.58) behavior in care for the elderly of the elderly caregivers is high (x = 2.85 S.D = 0.36). Knowledge in care for the elderly of the elderly caregivers was correlated with relationship characteristics of the elderly with statistical significance of 0.05 (P-value 0.006).
The results of this study can be used as basic information for planning activities with relevant agencies in caring for the elderly.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ Lปีที่ 23ฉบับที่ 1 มกราคม –เมษายน 2565 หน้า 127 - 139
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
26 11 มี.ค. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555