ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาตำหรับอาหารไทยประยุกต์ มื้อกลางวัน ในการเพิ่มคุณค่าสารอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน


อาจารย์อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1317-63-MAE-CMRU

บทคัดย่อ

เด็กเป็นทรัพยากรที่จะเติบโตเป็นบุคคลในการพัฒนาประเทศ เป็นอนาคตและกำลังสำคัญของชาติการจัดการอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีการที่จะส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้มีความหลากหลายในเรื่องสารอาหาร รวม 8 รายการ ได้แก พลังงาน โปรตีน ไขมัน คารโบไฮเดรต วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก การวิจัยนี้เป็น การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) เพื่อพัฒนาตำรับอาหารไทยประยุกต์ให้เหมาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน จำนวน 64 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในการประเมินผลของการยอมรับในการกินอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลการยอมรับการรับอาหารของเด็กในโรงเรียนสาธิตฯ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และได้เมนูอาหารประยุกต์ในการเพิ่มคุณค่าทางอาหารที่หลากหลาย 30 เมนู ให้กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอนเพื่อประกอบอาหารตามรายการเมนูอาหาร

Abstract

Children are a resource to grow as individuals in developing countries Are the future and an important force of the nation. Food management for preschoolers. Therefore, there must be a way to encourage children to receive nutritious food there are 8 nutrients: energy, protein, fat, carbohydrates, vitamin A, vitamin C. Calcium and iron. Quasi-experimental research (Quasi-Experimental Design) to develop Thai recipes suitable for preschool children to increase the nutritional value of the lunch of students at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School, Mae Hong Son Campus. There are 64 students in the first semester of the academic year 2020. In the evaluation of the student's acceptance of eating lunch. The research results were found that accepting the food intake of children in the demonstration school overall is moderate and received 30 menus of applied food to add nutritional value to Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School. Mae Hong Son Campus. To cook food according to the menu’s items.  

ไฟล์งานวิจัย

1. ปกหลัก เหลืองอ่อน_anavin.pdf

2 ปกใน (Title Page)_anavin.pdf

3. บทคัดย่อ ไทย (ก)_anavin.pdf

3.1 ABSTRACT (ข)_anavin.pdf

4. กิตติกรรมประกาศ (ค)_anavin.pdf

5. สารบัญ (ง-จ)_anavin.pdf

5.1 สารบัญตาราง (ฉ) anavin.pdf

5.2 สารบัญภาพ (ช) anavin.pdf

6 เอกสารอ้างอิง 49-50_anavin.pdf

7 ภาคผนวก(ก)(ข) 51-65_anavin.pdf

8 ประวัติผู้วิจัย 66-67 _anavin.pdf

บทที่ 1 บทนำ 1-3_anavin.pdf

บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม 4-23_anavin.pdf

บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 24-27 _anavin.pdf

บทที่ 4 ผลการวิจัย 28-31_anavin.pdf

บทที่ 4(ต่อ1) 32-42_anavin.pdf

บทที่ 4(ต่อ2) 43-46_anavin.pdf

บทที่ 5 สรุปผล 47-48_anavin.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2564

ปีที่ตีพิมพ์ :2563

35 11 มี.ค. 2563

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่