ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการผลิตลำไยนอกฤดู


รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1351-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการผลิตลำไยนอกฤดู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดู ปีการผลิต 2562 – 2563 จำนวน 330 ราย และผู้มีส่วนได้เสียกับการผลิตลำไยนอกฤดู จำนวน 18 ราย ในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนากิจกรรมโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และทดสอบประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้วยกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพกิจกรรมตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t แบบอิสระกัน (paired t-test) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับสารชีวภาพระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 8.58) มีเจตคติต่อการใช้สารชีวภาพระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.71) และใช้สารชีวภาพในการผลิตลำไยนอกฤดูระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.32) ประสิทธิภาพกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (81.86 / 86.66) และผลสัมฤทธิ์กิจกรรมมีค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.02) ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมยังสะท้อนแนวทางการนำต้นแบบสารชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย 1) การสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพ 2) การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และ 3)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน

Abstract

The purpose of this research was to development of bio – product using activity on off – season longan production . The number of sample size was 330 farmers and 18 Interested person in the area of Banhong District, Lamphun Province. Data collected by using questionnaires, non in-depth interview, focus group discussion and stakeholder group operational seminar were executed. Data including questionnaires, non - in depth interview and focus group were collected and analyzed for developing activities, Activity through stakeholder group operational seminar was efficiency and achievement tested. The descriptive statistics, content analysis, E1 / E2 according to the set criteria of 80 /80 and paired t-test were employed. The results indicated that the knowledge was in a moderate level (mean = 8.58), attitude was in a high level (mean = 3.71), and farmers in off-season longan production was biological substance application in low level (mean = 2.32). For bio – product using activities, the score of stakeholders knowledge post-learning and the score of pre-learning activities were 81.86 / 86.66. The efficiency gained in each activities were specified at 80.00 / 80.00 percent (E1 / E2). The average post learning score bio – product using was significantly higher than the pre – leaning score (p = .02). In concluding, the bio – product using activity recommendations for guideline to developing liquid bio fertilizer product by 1) data to support a bio – product using 2) farmer leaning activities development and 3) the administration organization should provide budget support.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์-การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพฯ-มีลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารควบคุมโรค ปีที่ 47 ฉบับเพิ่มเติมที่ 2 ต.ค. - ธ.ค. 2564 หน้า 1293-1302

ปีที่ตีพิมพ์ :2564

30 15 ก.พ. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่