
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาวัสดุปลูกจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย
รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1358-63-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความเหมาะสมของวัสดุปลูกจากเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดพันธุ์ใบกรีนโอ๊ค วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จำนวน 7 สิ่งการทดลอง 4 ซ้ำ ประกอบด้วย ใบ กิ่งมะม่วง ใบ กิ่งลำไย เศษต้น รากและเปลือกหอมแดงแห้ง ดินร่วน ใบจามจุรีแห้ง มูลโคนมแห้ง และน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ผลการศึกษา พบว่า เมื่อหมักวัสดุปลูกครบ 60 วัน วัสดุปลูกมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดระหว่าง 0.112 – 0.275 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด และปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด 1.201 – 1.771 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 2.217 - 3.956 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เมื่อนำวัสดุปลูกไปทดสอบต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดพันธุ์ใบกรีนโอ๊ค พบว่า การเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊คมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสิ่งทดลองที่ 7 มีการเจริญเติบโตทางด้านจำนวนใบ ความสูงของลำต้น ความยาวราก และความกว้างทรงพุ่มสูงสุด ส่วนสิ่งทดลองที่ 2 มีน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด ทั้งนี้กระบวนการพัฒนาวัสดุปลูกควรเพิ่มความชื้น จุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลาย รวมถึงเพิ่มระยะเวลาการหมัก
Abstract
The objectives of this research were to effects of growing media on lactuca sativa. The experiment was carried out through Completely Randomized Design (CRD) consisted of 7 treatments with 4 replications were used in this study, which were mango leaves, longan leaves, loam, rain tree leaves, cattle manure and vermicomposting tea. At the end stage 60 day. The results showed that growing media contained total N were ranged between 0.112 – 0.275 % ,total P and total K were ranged between 1.201 – 1.771 mg/kg and 2.217 - 3.956 mg/kg, respectively. When are growing media tested against the growth of green oak salad, found that the height, leaf number, canopy and weights of tree is different. Treatment 7 have maximum number of leaves, height, root and copony. Treatment 2 has the highest weight. Improving growing media production process for example moisturizing, microorganism added and appropriate fermenting period.
ไฟล์งานวิจัย
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์-การพัฒนาวัสดุปลูกพืชจากวัสดุเหลือทิ้งมีลายน้ำ.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัย มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2566
ปีที่ตีพิมพ์ :2566
28 15 ก.พ. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th