ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียงลุ่มแม่น้ำวางตอนบน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูสิทธิ์ ชูชาติ

บัณฑิตวิทยาลัย

เลขทะเบียน :

1368-63-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียงลุ่มน้้าวางตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมชาวนา ก้าหนดแนวทางการตลาดในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมชาวนา และเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่วิจัยในเขตลุ่มน้้าวางตอนบนประกอบด้วย บ้านโป่งสมิต บ้านห้วยอีค่าง บ้านห้วยตอง และบ้านขุนวาง ซึ่งมีระดับความสูงตั้งแต่ 850 เมตร ถึง 1,500 เมตรจากระดับน้้าทะเลปานกลาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวิจัย 
ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม สามารถสร้างชุดการท่องเที่ยวบนวิถีชีวิต เช่น การท่องเที่ยวสวนผัก นาในหุบเขา การปลูกดอกไม้ การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมระบบเหมืองฝาย การอนุรักษ์ดิน น้้า ป่า การท่องเที่ยวชมดอกนางพญาเสือโคร่ง สวนสตรอว์เบอร์รี่ และสวนกาแฟ การท่องเที่ยวแบบวิ่งเทรล (Trail Running) ในหุบเขา การจัดกิจกรรมโฮมสเตย์ รวมทั้งการจัดจ้าหน่ายผลผลิตในท้องถิ่น 
ในระบบการตลาด มีการจัดการตลาดทั้งในรูปแบบการขายตรง และขายผ่านตัวแทนจ้าหน่ายในเมือง โดยเน้นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว และมีระบบการขายทั้งในรูปแบบออนไลน์ (Online) และอ๊อฟไลน์ (Offline) เพื่อให้กลุ่มตลาดเป้าหมายเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด 
รูปแบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของลุ่มน้้าวางตอนบน ควรประกอบด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญา และการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว 
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวต้องกลมกลืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

Abstract

The main purposes of this research are to develop the sustainable tourism model and the marketing concept of the tourism businesses for the farmer societies with respect to the sufficiency economy philosophy, and to sustainably conserve the tourism resources. The research was conducted at the Upper Wang River area including five villages namely Ban Pong Samit, Ban Huay E-Khang, Ban Huay Thong, and Ban Khun Wang where the geographical elevations are between 850 and 1500 meters above the mean sea level. In addition, this study was the qualitative research in cooperation with the community members. 
The results obtained from this research indicated that the Upper Wang River area had the high potential in agri-cultural and eco-cultural tourisms. Thus, various lifestyle tourisms could be developed such as the site visiting in many attractive locations including but are not limited to the vegetable farms, the paddle fields in the mountain valleys, the flower farms, the local weir systems, the soil-water-forest conservative areas, the Wild Himalayan Cherry fields, the strawberry and coffee farms, and joining many activities such as trail running, home stay activities, and local products selling. 
For the marketing system, the onsite direct selling and indirect selling via the agencies in the urban areas were set up with focusing on the identity of the tourism 
products. In addition, the optimization on the accessibility to the tourism products of the target clients was performed by both online and offline marketing. 
The sustainable tourism resources conservation should include natural resources, lifestyles, cultures, traditions, and folk wisdom preservations. Moreover, the sufficiency economy philosophy should be applied to conserve the tourism resources. 
In conclusion, the benefits from the tourism businesses must be balanced in term of economic, social, and environment for the future sustainability.

ไฟล์งานวิจัย

บทคัดย่อ-กิตติกรรมประกาศมีลายน้ำ.pdf

บรรณานุกรมมีลายน้ำ.pdf

ประวัติผู้วิจัยมีลายน้ำ.pdf

รวมเล่มแล้วมีลายน้ำ.pdf

สารบัญ.pdf

หน้าปก.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม –สิงหาคม 2565 หน้า 138 - 154

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

26 09 ก.ค. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่