ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ชัยทัศน์ เกียรติยากุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1374-63-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีของพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 2)  การเก็บข้อมูลวัฒนธรรมของพื้นที่ตำบลแม่วินลงในระบบฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ 3) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของพื้นที่ตำบลแม่วิน ให้เป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่นและกระจายไปสู่สังคม  โดยมีการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ภูมิปัญญาของแต่ละกลุ่มชนพื้นราบ (คนเมือง)  กลุ่มชน    ปะกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) กลุ่มชนม้ง ในพื้นที่ตำบลแม่วิน ประกอบด้วยจำนวน 10 หมู่บ้าน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความรู้ด้านภูมิปัญญาในหมู่บ้าน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   1) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  2) การจัดทำระบบฐานข้อมูล    3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบฐานข้อมูล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวิจัย

          ผลการวิจัย หลังจากนั้นได้ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL เขียนโปรแกรมภาษา PHP โดยมีฟังก์ชั่นการเพิ่มข้อมูล การลบข้อมูล การค้นหาข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล โดยมีการนำเสนอข้อมูลประเพณี พิธีกรรม ภูมิปัญญา ของกลุ่มชนพื้นราบ (คนเมือง) กลุ่มชนปะกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) กลุ่มชนม้ง และได้นำระบบฐานข้อมูลไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและนักท่องเที่ยว   พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบฐานข้อมูลจำนวน 60 คน ได้ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 แสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานโดยภาพรวมของระบบอยู่ในระดับที่ มาก  

Abstract

The main purposes of this research are to develop of the local culture database system For cultural tourism in Mae Win sub-district, Mae Wang district, Chiang Mai province The objectives are to 1) study culture Traditions of Mae Win Sub-district, Mae Wang District, Chiang Mai Province 2) Collection of cultural data of Mae Win Sub-district in a computer database system 3) Publicizing the culture of Mae Win Sub-district To be known by local people and spread to society. The survey and study of information about the cultures, traditions, rituals, wisdom of each group of lowland peoples (urban people), Pakakayor (Karen) people, Hmong people in Mae Win sub-district It consists of 10 villages from a sample of 150 people, most of them are elders, philosophers, experts in the culture, traditions, rituals and wisdom of the village. Research Tools 1) Questionnaire and Interview 2) Database Management 3) Satisfaction Questionnaire in Database System Usage this study was the qualitative research in cooperation with the community members.            To design and develop a database using a database manager, MySQL, write a PHP program. It has functions of adding, deleting, searching, Updating and display     It presents information on traditions, rituals and wisdom of the lowland (urban people), Pakakay Ngo (Karen), Hmong people with detailed information and illustrations and the database system was disseminated to benefit people in Mae Win Sub-district found that the results of the evaluation of the satisfaction of using the database of 60 people obtained the evaluation results with an average of 4.38 showing that the efficiency of the use The overall work of the system is at a high level.

ไฟล์งานวิจัย

ระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น-แม่วิน.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2567

ปีที่ตีพิมพ์ :2567

18 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่