ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

โครงการการติดตามและประเมินผลแผนบูรณาการการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่การเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ ชุ่มอุ่น

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1381-63-MGT-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการ 2) วิเคราะห์ ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ 3) สร้างชุดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของตำบลแม่วิน การวิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก     การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มหัวหน้าโครงการ 13 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ 16 คน และกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ 26 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ และส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงเหตุและผล ผลการประเมิน กำกับและติดตาม พบว่า ผลการประเมินความสำเร็จที่ดำเนินงาน    ในมิติของผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.018 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการภายใต้แผนบูรณาการ สามารถดำเนินโครงการบรรลุผลในมิติของผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ ผลการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวที่จะนำไปเพิ่ม     ขีดความสามารถในการแข่งขัน พบว่า ชุมชนต้องพัฒนากระบวนการจัดการและการสร้างมูลค่าเพิ่มของการท่องเที่ยวโยชุมชนและผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับต้น ระดับกลางน้ำ และระดับปลายน้ำ และผลการสร้างชุดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ใช้ชุดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์และวิถีชุมชนของตำบลแม่วินผ่านแนวคิด “มองแม่วินผ่านหน้าต่างของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม”เพื่อสร้างประสบการณ์จริงให้กับนักท่องเที่ยว

Abstract

This research focused on 1) supervise, monitor and evaluate the projects, 2) analyze the creative tourism value chain, and 3) build a creative tourism series of Mae Win Sub-District. The research involved the application of the mixed method as the qualitative research instrument, which consisted of in-depth interviews, group discussions and relevant documents, while the quantitative instrument consisted of questionnaires and interview form. The sample group consisted of 13 project leaders, 16 project staff and 26 people affected by this project. The content and cause and effect analysis were for data analysis. The results of the evaluation, supervision and follow-up showed that the results of assessing the success performed in the overall productivity dimension were at a high level with a mean of 4.018 which shows that the projects under the integrated plan able to execute projects that achieve results in the dimension of productivity effectively and be able to execute the defined indicators. The results of the development of the tourism value chain that will lead to increased competitiveness found that the communities must develop management and value-added processes of community tourism and creative products at three levels: upstream level, midle stream and downstream. Finally,    the results of the creation of the creative tourism series found that the creative tourism series was based on the identity and community lifestyle of Mae Win Sub-District through the concept. "Look at Mae Win through the window of creative and cultural tourism" to create a real experience for tourists.

ไฟล์งานวิจัย

1. ปกหน้า -ปกใน.pdf

2. กิตติกรรมประกาศ.pdf

3. บทคัดย่อ-ภาษาไทยและอังกฤษ.pdf

4. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ.pdf

23 03 พ.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่