ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประเมินชุมชนพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งด้วยมิติเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา สะสอง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1383-63-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การประเมินชุมชนพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งด้วยมิติเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการแผนงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ ติดตามตรวจสอบโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ และจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมระดับจังหวัด โดยมุ่งประเมินและติดตามผลการวิจัยในชุมชนพื้นที่อำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอแม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 15 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่าโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยมีการดำเนินการเป็นไปตามแผน การเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ โดยใช้ชุมชนพื้นที่วิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 15 ชุมชน ครอบคลุม 5 อำเภอ คืออำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการวิจัยได้รับประโยชน์ เกิดเครือข่ายต้นแบบประชาสังคมภายใต้โมเดล “SSDC” (Strength Sustainable Development Civil Society) และชุมชนต้นแบบด้าน
อัตลักษณ์ไทใหญ่ ตามโมเดล “FICES” (Sustainable Education Community Identity of Tai-Yai Faith) ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ผลิตภัณฑ์ คือ สร้อยคอจี้ลายงูเหลือมในดอกไม้ จี้สัญลักษณ์ไก่ฟ้า ผ้าทอละว้า สบู่กากกาแฟ และชาจากดอกกาแฟ และได้ระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนและโฮมสเตย์ 
จดทะเบียนผู้ใช้ชื่อเวบไซต์ “hilltribehomestay” ภายใต้ url : https://hilltribehomestay.com/ ซึ่งชุมชนให้ความร่วมมือ มีความพึงพอใจ และมีส่วนร่วมในการวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี ตลอดจนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้น และงานวิจัยนี้จะนำเสนอรูปแบบชุมชนต้นแบบด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมเพื่อจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป

Abstract

This study was participatory action research. The objectives are to manage the research plan for efficiency, follow up and examine the research project under the research plan according to the objectives, and formulate a strategy for cultural community tourism management at the provincial level. The main activities were the evaluation and monitoring 
of research results in 15 communities in Pai, Pang Mapha, Muang, Khun Yuam, and Mae La Noi districts in Mae Hong Son Province. The results of the research showed that the research project under the research plan was carried out according to the plan. Budget expenditure is effective. 15 ethnic groups were included in the research area of Pai, Pang Mapha, Muang, Khun Yuam, and Mae La Noi districts. Stakeholders of this research project were benefited. There were establishments of civil society model network under the “SSDC” model (Strength Sustainable Development Civil Society) and community of Shan identity model, "FICES" (Sustainable Education Community Identity of Tai-Yai Faith) There were 5 community products which were a pendant with a python in a flower pattern, pheasant symbol pendant, Lawa cloth, coffee grounds soap, and tea from coffee flowers. This study established a community tourism and homestay database system registered under the username "Hilltribehomestay". (URL: https://hilltribehomestay.com) The communities were very satisfied and participated in this research as well as to develop better products and services. This study will present a model of cultural community tourism management to formulate the strategy of Mae Hong Son Province.

ไฟล์งานวิจัย

1.ปกนอก-ปกในรายงานการวิจัย.pdf

2.บทคัดย่อภาษาไทย.pdf

3.Abstract.pdf

4.กิตติกรรมประกาศ.pdf

5.-สารบัญ-ตาราง-ภาพ.pdf

6.บทที่-1-บทนำ.pdf

7.บทที่-2-เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf

8.บทที่-3-ระเบียบวิธีวิจัย.pdf

9.บทที่-4-ผลการวิจัย.pdf

10.บทที่-5-การสรุปผล-อภิปรายผลการวิจัย-และข้อเสนอแนะ.pdf

11.-บรรณานุกรม.pdf

12.-ภาคผนวก.pdf

13.-ประวัตินักวิจัย.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation; 32(3) ISSN 2651-4451 | e-ISSN 2651-446X

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

27 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่