
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาชุดกิจกรรมการผลิตเซรามิกและการใช้ประโยชน์เตาอินทขิลสำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในชุมชน อินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์รตานรี สุทธิพงษ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียน :
1393-63-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการผลิต
เซรามิก และการใช้ประโยชน์เตาอินทขิลสำหรับประกอบกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) เพื่อพัฒนา
คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับครูเกี่ยวกับการผลิตเซรามิก และการใช้ประโยชน์
เตาอินทขิล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ กลุ่มประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
ป่าจี้วังแดงวิทยา จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Puposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการผลิตเซรามิกและการใช้ประโยชน์เตาอินทขิล จำนวน 7 ชุดกิจกรรมรายวิชาศิลปะ (เครื่องปั้นดินเผา) แบบประเมินก่อน-หลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการผลิตเซรามิกและการใช้ประโยชน์
เตาอินทขิล รายวิชาศิลปะ (เครื่องปั้นดินเผา) พบว่า นักเรียนมีความสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท ประเภทที่มีนักเรียนผ่านทั้งกิจกรรมและชิ้นงาน คือ ประเภทที่ 4 มีจำนวนผู้เรียน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 26.09 ส่วนประเภทที่มีนักเรียนกิจกรรมไม่ผ่านและ ชิ้นงาน ไม่ผ่านคือประเภทที่ 1 จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 34.78
2. ความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการผลิตเซรามิกและการใช้ประโยชน์เตาอินทขิล รายวิชาศิลปะ(เครื่องปั้นดินเผา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.17
Abstract
This research is an experimental research aimed on Developing Ceramic Production Activities and uses of the Inthakhil Stove for a school curriculum, developing a teacher’s guide for classroom activities on ceramic production and the use of Inthakiln stove. The target group of the study comprised 23 fifth primary school students of Pajeewangdaengwittaya selected from Purposive Sampling. The research instruments are seven activity sets for making ceramic and using Inthakiln stove in the subject of Art(earthenware), a pretest, a posttest and a satisfaction questionnaire. The statistic used are percentage, mean and standard deviation.
The findings of the research
1.) The result of developing learning skills using activity sets for making ceramic and using Inthakiln stove in the subject of Art(earthenware) showed that students were divided into 4 groups. The group that passed both the activity and the workpiece was fourth group which included six students, 26.09 as a percentage. The group that failed both the activity and the workpiece was the first group which included 8 students, 34.78 as a percentage.
2.) The satisfaction score with the activity sets for making ceramic and using Inthakiln stove in the subject of Art(earthenware) for the fifth primary school students was 4.17 which is at the level of Most-Satisfied.
ไฟล์งานวิจัย
23 27 เม.ย. 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th