
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ผลของยากระตุ้นทางการค้าที่มีต่อความก้าวร้าว ความเครียด และการผสมพันธุ์ของไก่พื้นเมืองแม่ฮ่องสอน
อาจารย์ ดร.ณัฐธิดา สุภาหาญ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1425-64-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของยากระตุ้นทางการค้าที่มีต่อความก้าวร้าว ความเครียด และการผสมพันธุ์ของไก่พื้นเมืองแม่ฮ่องสอนเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 120 ตัว อายุ 6-8 เดือน ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 - กันยายน 2564 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 40 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุมแบบบวก กลุ่มควบคุมแบบลบ และกลุ่มทดสอบ เก็บข้อมูลพฤติกรรมทั่วไปและร้อยละความถี่ของพฤติกรรมที่พบ ทำการทดสอบระดับของพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการได้รับสารกระตุ้น โดยแบ่งระดับพฤติกรรมก้าวร้าวออกเป็น 5 ระดับ ใช้ไก่แม่ฮ่องสอนเพศผู้เป็นโมเดลไก่ล่อ ระยะเวลา 1 นาที พบว่า ไก่แสดงพฤติกรรมทั่วไป 4 กลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมการเคลื่อนที่และจัดท่าทาง พฤติกรรมการพักผ่อน และพฤติกรรทางสังคม โดยแสดงร้อยละความถี่ของพฤติกรรมการไซ้ขนและเดินไป-มามากที่สุด เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบและเพศ (การทดสอบ*เพศ) พบว่าระดับความก้าวร้าวของไก่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 239) = 4.34, p = 0.038) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและเพศ (กลุ่มทดลอง*เพศ) พบว่าระดับความก้าวร้าวของไก่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(2, 239) = 3.11, p = 0.046) และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและการทดสอบ (กลุ่มทดลอง*การทดสอบ) พบว่าระดับความก้าวร้าวของไก่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(2, 239) = 4.19, p = 0.016) ความแตกต่างระหว่างเพศมีผลต่อระดับความก้าวร้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 239) = 41.14, p = 0.000) การทดสอบให้สารก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 239) = 16.07, p = 0.000) เช่นเดียวกับกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มแสดงระดับความก้าวร้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(2, 239) = 4.86, p = 0.009) (ภาพที่ 4.19)
Abstract
A study of the effects of commercial stimulants on aggression, stress, and mating of 120 male and female indigenous Mae Hong Son chickens aged 6-8 months was conducted between November 2020 - September 2021. They were divided into 3 experimental groups, 40 each, including the positive control group, negative control group, and test group. General behavior data were collected, and the frequency of behavior was then calculated. The level of aggressive behaviour was tested before and after the stimulant exposure. It was divided into 5 levels. A male Mae Hong Son chicken was used as a mule chicken model for a period of 1 minute. Four groups of general behaviour were presented. There are personal behaviour, movement and posture behavior, resting behavior, and social behavior. The frequency of preening behaviour was found the most, followed by walking behaviour. When considering the relationship between tests (before and after administration) and sex (test*sex), it was found that the aggression level of the chickens was significantly different (F(1, 239) = 4.34, p = 0.038). The relationship between the experimental groups and sex (group*sex) significantly affected the aggression level of the chickens (F(2, 239) = 3.11, p = 0.046). The relationship between the experimental group and the test (group*test) also significantly impacted the aggression level of the chickens (F(2, 239) = 4.19, p = 0.016). There was a statistically significant difference between sexes (F(1, 239) = 41.14, p = 0.000), and between the pre and post-dose tests (F(1, 239) = 16.07, p = 0.000. ). Among the three experimental groups, the levels of aggression were significantly different (F(2, 239) = 4.86, p = 0.009).
ไฟล์งานวิจัย
26 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th