ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาศักยภาพ SME ขนาดเล็กของจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมันต์ สะสอง

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1427-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันธุรกิจ SME ขนาดเล็ก สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจ SME ขนาดเล็ก สร้างรูปแบบการบริหารการเงินของธุรกิจ SME ขนาดเล็ก และค้นหาแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ขนาดเล็ก จำนวน 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ขนาดเล็กมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันของธุรกิจเป็นไปตามแนวคิด McKinsey (7-S Framework) โดยสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ไม้คาดผมทำจากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ 2) เสื้อยืดประยุกต์ตกแต่งด้วยผ้าทอกะเหรี่ยงปักเมล็ดลูกเดือย 3) อัญชัญผงพร้อมชงดื่ม 4) สุรากลั่นพนาไพรวัลย์ 5) ผ้าทอกะเหรี่ยง และ 6) ยาสระผมเมล็ดกาแฟ ส่วนการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจ SME ขนาดเล็กได้ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่ม โดยการเชื่อมโยงด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนการเชื่อมโยงกับวิสาหกิจรายใหญ่หรือ กิจการส่งออกเพื่อแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างโอกาสทางธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ได้สร้างรูปแบบการบริหารการเงินของธุรกิจ SME ขนาดเล็กผ่านการจัดทำบัญชีที่เป็นไปตามมาตรฐานทางการบัญชี เพื่อให้เกิดการวางแผนทางการเงิน การจัดสรรการใช้เงินทุน และการควบคุมทางการเงินอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้
มีแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กด้วยแนวคิดแบบลีน (Lean) หลักการ ECRS การสื่อสาร การขนส่งและโลจิสติกส์ให้กับธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถั่วลายเสือ  และธุรกิจผ้าทอ โดยลดขั้นตอนการผลิตและปรับปรุงกระบวนการใหม่ ซึ่งสามารถเพิ่มผลิตภาพแรงงานในการดำเนินการ และลดเวลาในการผลิตรวม โดยนำมาเป็นต้นแบบการเพิ่มผลิตภาพให้แก่ธุรกิจ SME ขนาดเล็กอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป  

Abstract

The objectives of this research were to find ways to develop small SME business competitiveness, create creative prototype products, build a network of small SME entrepreneurs, create a model for small SME business financial management, and initiate guidelines for increasing labor productivity according to the needs of small SME businesses in Mae Hong Son province. The sample group consisted of 1,000 small SME entrepreneurs. The tools used were questionnaires and participatory operations. The research results revealed that small SME entrepreneurs have procedures for enhancing business competitiveness according to the concept 
of McKinsey (7-S Framework). The creative prototype products developed include 
1) headbands made from Pwo Karen hand-woven cloth, 2) T-shirts embroidered with Karen cloth and millet seeds, 3) instant butterfly pea powder, 4) herbal local spirits, 5) Karen hand-woven cloth, and 6) Coffee bean shampoo. In network building, small SME entrepreneurs have focused on integration by linking production and marketing with large enterprises or export businesses to distribute jobs according to expertise. There is an exchange of knowledge, experience, and business opportunities from upstream to downstream. Moreover, a form of financial management for small SME businesses has been created through standardized accounting in order to achieve financial planning, capital allocation, and systematic financial control. There are also guidelines to increase labor productivity according to the needs of small SME businesses with Lean concepts, ECRS principles, communication strategies, and logistics for tiger bean and textile businesses. This approach simplifies the production process and improves new production processes which can increase labor productivity in operation and reduce the total production time. This method can be used as a model to increase productivity for other small SME businesses in Mae Hong Son province.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์.pdf

28 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่