
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันธุรกิจ SME ขนาดเล็กเพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมในการเปิดด่านการค้าชายแดนถาวรไทย-เมียนมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
เลขทะเบียน :
1428-64-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะทางการแข่งขันได้ และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการพัฒนารองรับและเตรียมความพร้อมในการเปิดด่านการค้าชายแดนถาวรไทย-เมียนมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในความส่งเสริมของสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2563 จำนวน 160 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในปัจุบัน โรคระบาดโควิด-19 ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และความไม่สงบในเขตแนวชายแดน ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งทางด้านการเงิน การลงทุน การขาย การตลาด การผลิตสินค้า บริการ แรงงานและพันธมิตรทางการค้า ในส่วนของการพัฒนาสมรรถนะทางด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการควรได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าและการบริการ กฎหมายระหว่างประเทศการนำเข้า ส่งออกสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมด้านการเงินและทุนหมุนเวียน การบริหารจัดการกิจการภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางการค้าระหว่างประเทศ
Abstract
The purposes of this research were (1) To study information from Small Medium Enterprise (SMEs) businesses in Mae Hong Son province which has potential competition. (2) To study the competency development of Small Medium Enterprise (SMEs) in Mae Hong Son province in terms of development and preparation for Launching Myanmar-Thailand Border Trade
The sample group used in this research are 160 entrepreneurs who supported by office of provincial commercial affair Mea Hong Son province in 2020 by using a questionnaire form as a tool to collect data. The research shows problems and obstacles of entrepreneurs are affected by the current uncontrollable situations of Covid-19 pandemic, economic situation and restless in border areas that directly affected these entrepreneurs in terms of finance, investment, sales, marketing, production, services, labor and trade alliances. To upskill in terms of competency development, the entrepreneurs should be encouraged to understand excellent manufacturing and service practices, International law on import and export products, value-add proposition , support of revolving funds and cash flow, and business management under uncontrollable circumstances, as well as building a business partnership network.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3. กันยายน-ธันวาคม. หน้า 107-121
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
25 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th