
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อาจารย์ธีว์วรา ไหวดี
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1431-64-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และลดขั้นตอนหรือเวลาการทำงานที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 ประเภท คือ ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถั่วลายเสือ และธุรกิจเสื้อทอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นต้นแบบในการเพิ่มผลิตภาพให้แก่ธุรกิจ SME ขนาดเล็ก อื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนำหลักการการศึกษากระบวนการและการศึกษาเวลาในการทำงาน วิเคราะห์โดยใช้ หลัก 5W1H แผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) และนำหลักการ ECRS เข้ามาวิเคราะห์และหาแนวทางปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าจากการทำงาน จากผลการวิจัยพบว่า ในกระบวนการผลิตถั่วลายเสือ การเพิ่มผลิตภาพด้านแรงงาน จากเดิมแรงงาน 1 คน สามารถผลิตได้ 100 กิโลกรัม หลังการปรับปรุงสามารถผลิตได้ 112 กิโลกรัม โดยหลังปรับปรุงจำนวนกิโลกรัมที่เพิ่มขึ้น 12 กิโลกรัม ดังนั้นผลิตภาพแรงงานในการดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในด้านเวลาการทำงาน ก่อนการปรับปรุง ปริมาณถั่วลายเสือ 100 กิโลกรัม แรงงาน 1 คน ใช้เวลาในการดำเนินการผลิตถั่วลายเสือ เท่ากับ 39,490 วินาที หลังการปรับปรุง เวลาลดลงเหลือ 36,190 วินาที ในส่วนของกระบวนการผลิตเสื้อทอ การเพิ่มผลิตภาพด้านแรงงานจากเดิมแรงงาน 1 คน สามารถผลิตเสื้อทอได้ 1 ตัว หลังการปรับปรุงสามารถผลิตเสื้อทอได้ได้ 1.5 ตัว ดังนั้นผลิตภาพแรงงานในการดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ในด้านเวลาการทำงาน ก่อนการปรับปรุงกระบวนการ ปริมาณเสื้อทอ 1 ตัว แรงงาน 1 คน ใช้เวลาในการดำเนินการผลิตเสื้อทอ เท่ากับ 34,875 วินาที หลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตเวลาในการผลิตลงลงเหลือ 30,975 วินาที ดังนั้นการลดเวลาในการผลิตสามารถลดเวลาในการผลิตรวมทั้งสิ้นได้ทั้งสิ้น ร้อยละ 22.36
Abstract
Improving labor productivity for small and medium enterprise (SME) businesses in Mae Hong Son province. The objective is to educate about ways to increase labor productivity in accordance with the needs of SMEs in Mae Hong Son province and reduce unnecessary procedures or working hours of small businesses in Mae Hong Son province. The researchers selected two types of SME businesses in Mae Hong Son, namely tiger stripe peanut production and distribution business and woven shirts business in Mae Hong Son province as models to increase productivity for other SME businesses in Mae Hong Son province by applying the principles of process study and working time study. Analysis using the 5W1H principles, Flow Process Chart and apply ECRS principles to analyze and find the way to improve to reduce waste from the work process. The research results found that the production of tiger stripe peanut labor productivity; before the improvement, 1 worker could produce 100 kg after improvement, the production up to 112 kg, The production after improvement 12 kg increased. Therefore, labor productivity has increased by 12%. In terms of working time of 100 kg tiger stripe peanut, before the improvement, 1 worker takes 39,490 seconds to process the tiger stripe peanut production. After improvement, the working time has been reduced to 36,190 seconds. In the woven shirts business, labor productivity; before the improvement, 1 worker was able to produce 1 woven shirt, and after improvements were able to produce 1.5 woven shirts, so the labor productivity of the operation increased by 75%. In terms of working time of 1 woven shirt, before the improvement, 1 worker takes 34,875 seconds to process 1 woven shirt. After improvement, the working time has been reduced to 30,975 seconds. The total production time can be reduced by 22.36%.
ไฟล์งานวิจัย
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของธุรกิจ SME ขนาดเล็กในพื้นท่ีจังหวัด แม่ฮ่องสอน.pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
22 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th