ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพทำปานซอยจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์ประสิทธิ์ ฉิมบุญมา

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1432-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย 2) จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย และ 3) หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ใช้วิธีวิจัยและพัฒนาใน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกภูมิปัญญาการทำปานซอยและผู้ประกอบอาชีพปานซอย จำนวน 30 คน ประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของกระบวนการ ระยะที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย ประเมินความความเป็นไปได้ของแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย “PANSOI Process” แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การสร้างทัศนคติ 3) การสร้างความคิดใหม่ 4) การสร้างทักษะการทำงาน 5) สร้างทักษะการสังเกต และ 6) การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม การประเมินกระบวนการมีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

2. แผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัยมี 6 องค์ประกอบได้แก่ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการดำเนินงาน 4) แนวทางการพัฒนาอาชีพปานซอย 5) กระบวนการถ่ายทอดอาชีพ และ 6) การประเมินผล ทุกองค์ประกอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ

3. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ได้แก่ 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยโดยประยุกต์เข้ากับวัสดุท้องถิ่น 2) การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างปานซอยกับภูมิปัญญาด้านอื่น และ3) การประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยให้มีความร่วมสมัยสามารถจำหน่ายเป็นของใช้หรือของที่ระลึกได้ โดยความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop the career transfer process; the parm soi occupation 2) perform career development plan; parm soi occupation through the research process and 3) find guidelines to develop products to generate income for the community. The researcher proceeded according to the research methodology in 3 phases consist of; Phases 1: Developing the career transfer process; the parm soi occupation by conducting an in-depth interview with 30 folk wisdom persons. Phases 2: perform career development plan; parm soi occupation through the research process. The target group who evaluated the quality of model was 5 experts, the instrument was the quality assessment form. Phases 3: find guidelines to develop products to generate income for the community and assessing satisfaction with product development guidelines to generate income for the community.

Research findings found that

1. There are in 6 stages of the career transfer process “PANSOI Process”- 1) Preparing 2) Attitude) 3) New Ideas 4) Skills 5) Observations and 6) Innovative Thinking. The overall quality assessment of career transfer process was at the highest level of accuracy and suitability

2. The career development plan consisted of 6 components-1) Principles 2) Objectives 3) Operating procedures 4) Guidelines for Parn Soi occupation development 5) Career transfer process and 6) Evaluation. The overall quality assessment of career transfer process was at the highest level of possibility.

3. There are 3 guidelines to develop products to generate income for the community-1) Parn Soi product design by applying local materials. 2) The combination of local wisdom between Parn Soi and other wisdom; and 3) The application of Parn Soi products should be contemporary, can be sold as appliance or souvenirs. The overall of satisfaction average was at the highest level.

ไฟล์งานวิจัย

01Cover.pdf

02Content.pdf

03Chapter1.pdf

04Chapter2.pdf

05Chapter3.pdf

06Chapter4.pdf

07Chapter5.pdf

08Referencs.pdf

09ภาคผนวก ก ภาพประกอบ.pdf

10ภาคผนวก ข แบบสัมภาษณ์.pdf

11ภาคผนวก ค แบบสนทนากลุ่ม.pdf

12ภาคผนวก ง แผนพัฒนาอาชีพ.pdf

13ภาคผนวก จ แบบประเมินกระบวนการ.pdf

14ภาคผนวก ฉ แบบประเมินคุณภาพแผนพัฒนาอาชีพ.pdf

15ภาคผนวก ช แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปานซอย.pdf

16ประวัตินักวิจัย.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

24 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่