ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการพัฒนาโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในจังหวัด แม่ฮ่องสอน สู่มาตรฐานโฮม สเตย์ไทย


อาจารย์สิริลักษณ์ กัลยา

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1433-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) คือ เพื่อศึกษาศักยภาพของที่พักแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้มีส่วนร่วมกลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2563 จำนวน 153 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า โฮมสเตย์กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับองค์ความรู้ ด้านการจัดการที่พักและการบริการ ตลอดจนการขาดความเข้าใจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งธรรมชาติ ท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจพิเศษ ทำให้ขาดโอกาสการสร้างรายได้ในธุรกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน จึงได้รูปแบบการพัฒนาโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ ซึ่งสอดคล้องมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยทั้ง 10 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านที่พัก 2) ด้านอาหารและโภชนาการ 3) ด้านความปลอดภัย 4) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิกในครัวเรือน     5) ด้านรายการนำเที่ยว 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านวัฒนธรรม 8) ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ 9) การบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ 10) ด้านประชาสัมพันธ์

Abstract

The research aims at studying potential of Karen homestay in Maehongson province and creating model for developing Karen homestay to meet Thailand Standard Homestay. The population are 153 Homestay of Karen people in Maehongson in 2021. The research tools are questionnaire and focus group interview.

The finding shows that most of Karen Homestay in Maehongson cannot meet the standard criteria of Thailand Homestay in knowledge management, homestay and service management, and knowledge of tourist behavior through natural attraction, cultural attraction, and special interest. Those lacking result in less sustainable economic opportunity. The suggested model for Karen Homestay would consist of SO strategy, WO strategy, ST strategy and WT strategy which conform to 10 criteria of Thailand Homestay Standard criteria : 1) accommodation, 2) gastronomy, 3) safety, 4) host’s geniality, 5) tourist itinerary, 6) nature and environment, 7) culture, 8) value added products, 9) homestay management, and 10) advertisement.

ไฟล์งานวิจัย

ฉบับสมบูรณ์รวมไฟล์วิจัยอาจารย์โน้ต11.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

27 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่