ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของบุกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1434-64-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชต์ของบุกไข่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ของบุกให้ได้บุกพันธุ์ดี และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร เพื่อลดการลักลอกขุดจากป่า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤกษ์ของพฤกษเคมีต่างๆ ในบุกทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อเป็นข้อมูลในการแปรรูปบุกให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ดังนี้

         การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบุกไข่ (Amorphophallus oncophyllus) โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อพืชอย่างง่าย โดยนำส่วนของหน่อที่ได้จากหัวบนใบมาฟอกฆ่าเชื้อและชักนำแคลลัส ทำการเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร KC ที่เติม Benzyladenine (BA) ที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหาร KC ที่เติม BA ที่ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ดีที่สุด จำนวนยอดเฉลี่ย 91 ยอดต่อชิ้นส่วน สำหรับการชักนำราก โดยนำชิ้นส่วนยอดมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร KC ที่เติม 1-Naphthaleneacetic acid (NAA) ระดับความเข้มข้น 0, 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าสูตรอาหาร KC ที่เติม NAA ที่ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ชักนำให้เกิดรากสูงสุด จำนวนรากเฉลี่ย 88 รากต่อยอด สูตรอาหาร KC ที่ไม่เติม NAA ให้ความยาวรากเฉลี่ยสูงสุด 6.37 เซนติเมตร ให้ความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 22.07 เซนติเมตร จากการย้ายต้นบุกไข่ออกปลูกในสภาพโรงเรือน มีอัตราการรอดชีวิตถึง 86.67 เปอร์เซ็นต์

การศึกษาผลของโคลชิซินต่อการเจริญเติบโตของบุกไข่โดยสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยนำชิ้นส่วนใบของบุกมาเลี้ยงในอาหาร KC ที่เติม 2,4-D 0.5 mg/L เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นนำแคลลัสไปเลี้ยงในอาหาร KC ที่เติม BA 2 mg/L ร่วมกับโคลซิซินแต่ละความเข้มข้นคือ 0, 1, 5,10 mg/L เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และย้ายเลี้ยงในอาหาร KC ที่เติม BA 9 mg/L เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิห้องในสภาพได้รับแสง  พบว่าโคลชิซินที่ความเข้มข้น 1,และ 5 mg/L ไม่มีผลต่อความสูง เส้นผ่านศูนย์กลาง และจำนวนยอด แต่ต้นที่ได้รับโคลชิซิน 1 และ 5 mg/L มีผลต่อลักษณะของใบบุกไข่

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดหยาบบุกเตรียมเองกับบุกการค้าที่สกัดด้วยเอทานอล เพื่อประยุกต์ใช้บุกเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สครับผิวกาย และเพื่อหาสูตรสครับบุกที่เหมาะสม โดยการประเมินความพึงพอใจ การศึกษาพบว่า การเตรียมบุก 500 กรัม ได้ผงบุกละเอียด สีครีม มีร้อยละผลผลิต (%yield) เท่ากับ 23.44 สารสกัดหยาบบุกเตรียมเอง และบุกการค้า มีร้อยละผลผลิต (%yield) 2.57 และ 1.13 ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH free radical scavenging เท่ากับ 0.8641  mg/mL และ2.0105 mg/mL ตามลำดับ ซึ่งมีวิตามินซีและโทรลอกซ์เป็นสารมาตรฐานโดย มีค่า IC50 เท่ากับ 0.0114 mg/mL และ 0.0111 mg/mL ตามลำดับ เมื่อคำนวณในรูปของ VCEAC พบว่าในบุกเตรียมเองเท่ากับ 13.2 mg vitamin C/ g extract และบุกการค้าเท่ากับ 5.7 mg vitamin C/ g extract ตามลำดับ และมีค่า TEAC ในบุกเตรียมเองเท่ากับ 12.8 mg Trolox / g extract และบุกการค้าเท่ากับ 5.5 mg Trolox / g extract ตามลำดับ การศึกษาเพื่อหาสูตรสครับที่เหมาะสมโดยอาสาสมัครจำนวน 20 คน ทำการประเมินด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านกายภาพของสครับ ด้านความรู้สึกหลังการใช้สครับ และความพึงพอใจโดยรวม พบว่าความพึงพอใจโดยรวมต่อสครับสูตรเพิ่มบุกเตรียมเอง 20 กรัม มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมสูงที่สุด

การเตรียมผงบุกไข่จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนและหาปริมาณแคลเซียมออกซาเลต การศึกษาการขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม การศึกษาสารเติมแต่งที่มีผลต่อลักษณะของแผ่นฟิล์ม การศึกษาการทนน้ำของแผ่นฟิล์ม และคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์ม ได้ผลการวิจัยดังนี้ การเตรียมผงบุกไข่ที่ไม่แช่สารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนตมีร้อยละผลผลิต เท่ากับ 16.75 ได้ผงสีขาวขุ่น และบุกไข่ที่แช่สารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต เวลา 1 และ 2 ชั่วโมง มีร้อยละผลผลิต เท่ากับ 12.34 และ13.29 ตามลำดับ และผงบุกไข่ที่ได้มีสีน้ำตาลอ่อน การเตรียมผงบุกไข่โดยการที่แช่สารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต สามารถช่วยกำจัดปริมาณแคลเซียมออกซาเลตได้เมื่อเทียบกับผงบุกไข่ที่ไม่แช่ และกับผงบุกทางการค้า แต่อย่างไรก็ตามผงบุกไข่ที่สามารถขึ้นรูปแผ่นฟิล์มได้  คือ ผงบุกที่เตรียมได้จากการไม่แช่สารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต โดยลักษณะทางกายภาพของแผ่นฟิล์มกายภาพ มีสีเหลืองอ่อน ผิวขรุขระ และมีฟองอากาศเล็ก ๆ บนแผ่นฟิล์ม การขึ้นรูปที่อุณหภูมิ 50 – 60 องศาเซลเซียส มีผลทำให้ลักษณะของเจลบุกก่อนขึ้นแผ่นฟิล์มมีความขาวขุ่น ความหนืดเพิ่มขึ้น รวมถึงปริมาณแคลเซียมออกซาเลตลดลง เนื่องจากแคลเซียมออกซาเลตสามารถสลายตัวได้ที่อุณหภูมิสูง การเติมกลีเซอรีนในขั้นตอนการขึ้นรูปช่วยทำให้แผ่นฟิล์มมีลักษณะเรียบ และมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น สารเติมแต่งที่เหมาะสำหรับการนำฟิล์มบุกไข่ไปใช้ประโยชน์ในการทำแผ่นมาส์กหน้ามากที่สุด คือ เพคตินกับแป้งมันฝรั่ง เนื่องจากให้ลักษณะทางกายภาพของแผ่นฟิล์มที่มีความเรียบ และมีความยืดหยุ่น ส่วนการทดสอบการละลายน้ำของแผ่นฟิล์มบุกไข่ พบว่า แผ่นฟิล์มบุกไข่ที่ผสมแป้งมันฝรั่งและเติมกลีเซอรีน สามารถทนต่อการละลายน้ำได้นานที่สุด 7.45 นาที และการศึกษาสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มบุกไข่พบว่า แผ่นฟิล์มบุกไข่ที่เติมกลีเซอรีนกับสารเติมแต่งต่าง ๆ ทำให้แผ่นฟิล์มบุกมีค่าแรง (Force), ค่าความแข็งแกร่ง (Stiffness) และค่าความแข็งแรง (Strength) ของแผ่นฟิล์มบุกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นฟิล์มบุกที่ไม่เติมกลีเซอรีน แต่ในทางกลับกันแผ่นฟิล์มบุกที่เติมกลีเซอรีนทำให้ค่าความเครียด (%Strain) และค่าการยืดตัว ณ จุดขาด (Elongation @Break) ของแผ่นฟิล์มบุกมีค่าเพิ่มขึ้น

การศึกษาการใช้ประโยชน์จากบุกเพื่อเสริมในผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ไส้อั่วและเม็ดไข่มุกเสริมผงบุก โดยมีการนำบุกไข่ (Amorphophallus oncophyllus) มาแปรรูปให้เป็นผงบุกด้วยกระบวนการอบแห้ง แล้วนำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและกายภาพของบุกสดและผงบุก จากนั้นนำผงบุกมาใส่เสริมลงในผลิตภัณฑ์ไส้อั่วและเม็ดไข่มุก ซึ่งผงบุกในผลิตภัณฑ์ไส้อั่วช่วยเพิ่มปริมาณเนื้อต่อน้ำหนักได้เมื่อนำไส้อั่วผ่านกระบวนการทำให้สุกด้วยการนึ่งแล้วนำมาปิ้งหรือย่างไฟ ทำให้สามารถลดปริมาณเนื้อที่ใช้โดยไม่เปลี่ยนรสชาติ ช่วยเพิ่มสมบัติในการอุ้มน้ำและเก็บรักษาความชื้นให้กับอาหารให้ดีขึ้น รวมทั้งใช้เป็นสารทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ส่วนในผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกนั้น ผงบุกมีคุณสมบัติในการเกิดเจลและให้ความหนืดกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากแป้ง ช่วยเพิ่มอรรถรสในการเคี้ยวที่มีความหนึบของเม็ดไข่มุก สามารถสร้างเนื้อสัมผัสที่ทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบได้ อีกทั้งยังเป็นการเสริมใยอาหารให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

Abstract

Commercial Potential Development of Konk Khai in Mae Hong Son Province Using Biotechnology for propagation Improve the breeding of raiders to invade good breeds and sufficient quantities to meet the needs of farmers to reduce digging from the forest There is also a study of the auspiciousness of various phytochemicals. in both qualitative and quantitative for information on the transformation of konjac into high-value products as follows:

konjac (Amorphophallus oncophyllus) tissue culture study by simple plant tissue culture techniques. By using the part of the shoot from the head on the leaf to bleach, sterilize and induce callus. Cultivated on KC medium with benzyladenine (BA) at concentrations of 0, 0.5, 1, 2, 3 and 4 mg/l for 12 weeks. liter can induce the best peaks Average number of peaks 91 per piece for root induction The shoots were cultured on KC medium containing 1-Naphthaleneacetic acid (NAA) at concentrations of 0, 1, 2, 3 and 4 mg/l. It was found that the KC formula added NAA at a concentration of 4.0 mg/l induce maximum root formation The mean number of roots was 88 roots per shoot. The KC formula without NAA added had the highest mean root length of 6.37 cm. The highest mean height was 22.07 cm. It has a survival rate of 86.67 percent.

The effect of colchicine on the growth of konjac eggs by plant tissue culture conditions was carried out by cultivating konjac leaf parts in KC medium with addition of 2,4-D 0.5 mg/L to callus induction. Callus was then cultured in KC medium supplemented with 2 mg/L BA plus colchicine at each concentration of 0, 1, 5,10 mg/L for 4 weeks, and Transplanted in KC medium enriched with BA 9 mg/L for 5 weeks at room temperature under light conditions. It was found that colchicine at concentrations of 1, and 5 mg/L had no effect on height. diameter and number of shoots, but plants treated with colchicine 1 and 5 mg/L had an effect on the appearance of konjac leaves.

Study on antioxidant activity from konjac extract prepared by ourselves and commercial konjac extracted with ethanol. To apply konjac as an ingredient in body scrub products. and to find a suitable konjac scrub recipe by assessing satisfaction The study found that 500 g of konjac preparations yielded fine, creamy konjac powder with a yield percentage (%yield) equal to 23.44, and a coarse extract of konjac prepared manually and commercial konjac extracts had a percentage yield (%yield) of 2.57 and 1.13, respectively. Antioxidants by DPPH free radical scavenging were 0.8641 mg/mL and 2.0105 mg/mL, respectively, with vitamin C and trolox standardized, with IC50 values ​​of 0.0114 mg/mL and 0.0111 mg/mL, respectively. Calculated in the form of VCEAC, it was found that the homemade konjac was 13.2 mg vitamin C/g extract and commercial konjac was 5.7 mg vitamin C/g extract, respectively, and the TEAC value of the homemade konjac was 12.8 mg Trolox/g extract and konjac. commercial equivalents were 5.5 mg Trolox/g extract, respectively. A study to determine the optimal scrub formulation was conducted by 20 volunteers, packaging assessments. The physical aspect of the scrub The feeling after using the scrub and overall satisfaction It was found that the overall satisfaction with the 20 g Konjac Additive Scrub had the highest average score of overall satisfaction.

Preparation of konjac egg powder from Mae Hong Son province and determination of calcium oxalate content film forming study. Study of additives affecting film characteristics. Study on the water resistance of film and mechanical properties of the film. The results of the research were as follows: The preparation of konjac egg powder that was not soaked in sodium bicarbonate solution had a yield percentage equal to 16.75. The milky white powder was obtained. And konjac eggs soaked in sodium bicarbonate solution for 1 and 2 hours had yield percentages of 12.34 and 13.29, respectively, and konjac egg powder was light brown. Preparation of konjac egg powder by soaking in a solution of sodium bicarbonate. Can help eliminate calcium oxalate content compared to unsoaked konjac powder. and with commercial konjac powder However, konjac powder that can be film-formed is konjac powder prepared by not soaking in sodium bicarbonate solution. by the physical characteristics of the physical film Light yellow, rough surface and small air bubbles on the film. Forming temperature of 50 - 60 degrees Celsius results in the appearance of konjac gel before the film is opaque. increased viscosity as well as decreased amount of calcium oxalate Because calcium oxalate can decompose at high temperatures. The addition of glycerin in the forming process gives the film a smooth appearance. and more flexibility The most suitable additives for utilizing konjac film in the making of face masks are pectin and potato starch. Because it gives the physical characteristics of the film that is smooth. and flexible As for the water solubility test of konjac egg film, it was found that konjac egg film mixed with potato starch and added glycerin. It was able to withstand water solubility for the longest 7.45 minutes. The konjac egg film added glycerin and various additives causes the konjac film to have lower Force, Stiffness, and Strength of Konjac Film when compared to the film. Konjac without added glycerin On the other hand, konjac film added with glycerin increased the stress (%Strain) and elongation at break (Elongation @Break) of the konjac film.

Studies on the utilization of konjac for supplementation in food products such as sai ua and pearls for fortified konjac powder. by bringing the invasion of eggs (Amorphophallus oncophyllus) is processed into konjac powder by drying process. Then used to analyze the chemical and physical properties of fresh konjac and konjac powder. Then add konjac powder to add to Sai Oua products and pearl beads. The konjac powder in sausage products can increase the amount of meat per weight when the sausages are cooked by steaming and then grilling or grilling. This makes it possible to reduce the amount of meat used without altering the taste. Improves water holding properties and retains moisture for better food. as well as being used as a fat substitute in meat products As for the pearl products Konjac powder has gelling properties and gives viscosity to processed starch products. Improves the taste of chewing with the chewiness of the pearls. able to create a texture that will satisfy consumers It also adds fiber to the product.

ไฟล์งานวิจัย

1ปก.pdf

2บทคัดย่อ.pdf

บทที่ 1.pdf

บทที่ 2.pdf

บทที่ 3.pdf

บทที่ 5.pdf

บรรณานุกรม.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

35 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่