
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาฐานข้อมูลการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อาจารย์อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1435-64-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ การใช้พืชสมุนไพรที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จึงเป็นช่องทางในการดูแลสุขภาพทางหนึ่ง การวิจัยนี้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เพื่อศึกษาข้อมูลการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน และพัฒนาฐานข้อมูลสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่อตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้คือ ความสะดวกสบาย ราคาที่เหมาะสม ความเพียงพอของการใช้ ประสิทธิผลในการรักษา ด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ เพศ ชาติพันธุ์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (P < 0.05) และความพึงพอใจพบว่ามีความพึงพอใจต่อการใช้ฐานข้อมูลสมุนไพรอยู่ในระดับดีมาก
Abstract
Mae Hong Son Province is a culturally diverse province. And the diversity of populations of many ethnic groups. The use of medicinal plants in accordance with the wisdom and culture of ethnic groups. Therefore, it is one way to take care of health care. This research is a Mixed Methods Research to study herbal medicinal use among ethnic groups in Mae Hong Son Province. Together with an interview with local healers and develop a herbal database of ethnic groups in Mae Hong Son Province The sample consisted of 445 people. Factors that could predict the behavior of herbal use among people of ethnic groups on the variables influencing the use behavior were convenience reasonable price adequacy of use therapeutic efficacy Cultural aspects related to use, gender, ethnicity influenced the overall herbal use behavior of ethnic groups. Mae Hong Son Province (P < 0.05) and the satisfaction was found that the satisfaction of using the herbal database was at a very good level.
ไฟล์งานวิจัย
38 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th