ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์รักคุณ ปัญญาวุธาไกร

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1437-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาสำรวจรูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่และมูเซอดำจังหวัดแม่ฮ่องสอน กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 88 คน แบ่งเป็นกลุ่มไทใหญ่จำนวน 39 คนจากพื้นที่ตำบลผาบ่อง ตำบลจองคำ และตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มตัวอย่างมูเซอดำ จำนวน 49 คน จากพื้นที่บ้านห้วยเฮี๊ยะ ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการสังเกตข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์
อย่างง่ายด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการพรรณนา

          ผลการศึกษารูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ พบว่ามีความพร้อมเกือบทุกด้าน ทั้งการสร้างทัศนคติ องค์ความรู้ สื่อ งบประมาณ ปราชญ์ แนวทางการเผยแพร่
ที่หลากหลาย ผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด วัฒนธรรมบางแขนงมีรูปแบบการสืบทอด
ทางวัฒนธรรมไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะด้านทัศนคติ องค์ความรู้ สื่อ งบประมาณ แผนการเผยแพร่ และผู้พร้อมรับการถ่ายทอด แม้จะมีความพร้อมด้านปราชญ์ผู้รู้ และปราชญ์ผู้สอน สำหรับรูปแบบ
การถ่ายทอดทางภาษาไทใหญ่ หากเน้นการถ่ายทอดผ่านระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนและ
การถ่ายทอดสดออนไลน์ คาดว่าจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมด้านภาษาไทใหญ่มากขึ้น

          ผลการศึกษารูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอดำ มีความพร้อมภายในชุมชนในหลายด้าน แม้จะขาดรูปแบบที่สำคัญ เช่น การสร้างทัศนคติ องค์ความรู้ งบประมาณ แนวทางการเผยแพร่ที่หลากหลาย รวมถึงผู้รับการถ่ายทอดก็ตาม รูปแบบที่มีอยู่ที่ชัดเจนได้แก่ 
สื่อ ปราชญ์ผู้รู้ และปราชญ์ผู้สอน สำหรับการสืบทอดภาษามูเซอดำ พบว่าการส่งเสริมการพูดภาษาสำหรับเด็กในชุมชนยังเข้มแข็ง แต่ไม่มีการส่งเสริมการพูดภาษามูเซอดำในโรงเรียน เนื่องจากนโยบายโรงเรียนและทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทยของผู้ปกครองและคนในชุมชน ภาษามูเซอดำไม่มีระบบ
การเขียนภายในชุมชน ทำให้ขาดองค์ความรู้และสื่อทางภาษาที่จำเป็น และเชื่อมโยงต่อการสืบทอดวัฒนธรรมแขนงอื่น ๆ หลายแขนง

          ข้อเสนอแนะสำหรับรูปแบบการสืบทอดทางวัฒนธรรมทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์นี้ คือ การสร้างความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน โครงการต่าง ๆ จากภาครัฐ เช่น ภาคการท่องเที่ยวและภาคส่วนวัฒนธรรม รวมทั้งภาคส่วนการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพ

Abstract

This research aimed to explore the cultural inheritance patterns of Tai Yai and Black Lahu ethnic groups in Mae Hong Son Province. This study dealt with a sample size of 88 respondents, of which 39 were from Tai Yai groups in the area of ​​Tambon (Subdistricts of) Pha Bong, Chong Kham and Pang Mu, Amphoe (District of) Mueang, Changwat (Province of) Mae Hong Son while the other 49 were black Lahu samples from Ban (Village of) Huai Hia, Tambon Pang Mapha, Amphoe Pang Mapha, Changwat Mae Hong Son. Using a variety of questionnaires and interviews including author’s personal observations, data underwent through a simple analysis with frequency, percentage, mean and descriptive values.

          Results of the study show that cultural inheritance patterns of the Tai Yai ethnic groups were almost ready in every aspect—creating attitudes, owning knowledge, having media, budgets, philosophers, and various dissemination methods, including passers-on and receivers. However, some inheritance forms for some cultures were incomplete especially in founding positive attitudes, building knowledge, owing media, receiving budgets, transmission plans and lacking disciples despite the readiness of the wise and sages. For the format of the transmission of the Tai Yai language, if that were done through education system and online live streaming the cultural transmission might propel instantly and constantly.

          Results of the study on cultural inheritance patterns of the Black Lahu ethnic group show that the community is ready in many aspects. Despite the lack of some important themes - creating positive attitudes, building knowledge, earning budget, various dissemination methods including potential recipients. Themes that prevail are media and wisemen. For the inheritance of the Black Lahu language, language used by children was highly vital, but there is no promotion of speaking the language in schools because of school policies and parents and people in the community having good attitudes towards Thai language uses. Furthermore, the Black Lahu language has no orthography of its own so this leads to a lack of knowledge and necessary linguistic materials cannot be made and this links to the succession of many other fields of culture.

          The recommendations for patterning strong cultural inheritance for both ethnic groups are: building cooperation and integration as well as networking with potential agencies be they government agencies or private sectors in tourism or cultural work or educational institutes.

ไฟล์งานวิจัย

รวมไฟล์.pdf

23 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่