ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสืบทอดอัตลักษณ์ วิถีชีวิตทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยว กลุ่มชาติพันธ์ลาหู่ดำ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์ทับทิม เป็งมล

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1438-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสร้างกลวิธีการสืบทอดอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

            วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  รวม 50 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) การกระจายร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รายงานข้อมูลแบบพรรณนา

            จากการศึกษาพบว่าทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ อันเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 9 องค์ความรู้  คือ ประเพณีและพิธีกรรม การแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์  อาหาร  วิถีข้าวดอย การจักสาน การตีมีด เครื่องดนตรีแคนน้ำเต้า ภูมิปัญญาการรักษาสุขภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นชาวลาหู่กลุ่มที่ 2 ที่เข้ามาตั้งรกรากในเขตประเทศไทย หลังชาวลาหู่ญีหรือมูเซอแดง ในพื้นที่บ้านหัวแม่ยีป่าโหล และบ้านปุงยาม บ้านห้วยหรือบ้านป่าลุกข้าวหลามในปัจจุบัน และมีการเคลื่อนย้ายพื้นที่ไปตามสถานการณ์

            ผลการประเมินการสืบทอดวัฒนธรรมชุมชน 7 ฐาน คือ ฐานการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรม วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมอาหาร  วัฒนธรรมวิถีข้าวดอย วัฒนธรรมการจักสาน วัฒนธรรมการตีมีด และวัฒนธรรมดนตรีแคนน้ำเต้า พบว่า ฐานการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับดีมาก คือ ฐานการเรียนรู้วิถีข้าวดอย มีค่าเฉลี่ย 4.99  ฐานตีมีด  มีค่าเฉลี่ย 4.63 และฐานอาหาร       มีค่าเฉลี่ย 4.56 สามารถจัดกิจกรรมการสืบทอดวัฒนธรรมได้ผลมากกว่าระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยว

            กลวิธีการสืบทอดอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ทางวัฒนธรรมของชุมชนท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์ ลาหู่ดำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 8 วิธีการ คือ 1. การพัฒนาศักยภาพผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรม 2.การจัดสิ่งแวดล้อมฐานการเรียนรู้ เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ 3. การใช้องค์ความรู้ วิธีการและสื่อทันสมัยในการถ่ายทอดองค์ความรู้ 4. การเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้อย่างปลอดภัย 5. การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 6.การปรับเปลี่ยนบ้านพักเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ 7. การพัฒนาผู้รับวัฒนธรรม พร้อมรับต่อสถานการณ์ 8. การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

Abstract

This research aims to study the synthesized information on the cultural capital of ethnic tourism communities in Mae Hong Son Province and create tactics to inherit the identity, and artistic way of life of the Black Lahu ethnic tourism community, in Mae Hong Son province.

            The research methods are mixed methods research between qualitative and quantitative analysis using participatory action research( PAR). The sample group used in this study was five people. The quantitative data were analyzed using the descriptive statistics of frequency distribution, percentage distribution, arithmetic mean, and qualitative data using the descriptive reports of content Analysis method.

            The study found that the cultural capital of the Black Lahu ethnic group is the identity of the ethnic group. It consists of 9 bodies of knowledge. In addition to customs and rituals, Ethnic dress, Ethnic food, The way of Khao Doi, Weaving and Making a knife, Can music cannabis, and Wisdom of Health Treatment of the Black Lahu Ethnic Group. It Is an element in the way of life of the Black Lahu ethnic group from past to present who settled in Mae Hong Son Province after 1957. It is the second group of Lahu people who came to settle in Thailand. Behind the Lahu people or the red Lahu in Ban Hua Mae Yee Pa Lo and Ban Pung Yam Ban Huai or Ban Pa Luk Khao Lam and moving the area according to the situation.

            Community cultural inheritance resulted in seven bases following the learning base of culture, traditions and rituals, dress culture, food culture, the way of Khao Doi's civilization, culture knife, and forging culture ethnic. It found that the learning base was at an outstanding level: the Khao Doi way learning base with an average of 4.99, the Mead knife base with an average of 4.63, the food base with an average of 4.56, and culture is more effective than tourists expectations.

            Strategies for inheriting the identity, way of life, and culture of ethnic tourism communities of the black Lahu ethnic tourism community in Mae Hong Son province consisted of 8 methods: 1. Developing the potential of cultural translators. 2. Organizing the learning environment as a learning area, 3. Using modern techniques and media to transfer knowledge, 4. Free access to learning spaces, 5. Development of learning facilities, 6. Modification of the house as a homestay, 7.Development of cultural recipients Ready to accept the situation, and 8. Public relations and dissemination of activities continuously.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สกสว64 อ.ทับทิม เป็งมล (ลายน้ำ).pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 49 ฉบับที่ 1 / 2566 (มกราคม - มิถุนายน 256๖) เลข ISSN 0125-2860

ปีที่ตีพิมพ์ :2566

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

51 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่