ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


นายภูดิท อักษรดิษฐ์

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1440-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารในครัวเรือนและป่าชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 3) จัดทำแนวทางบริหารจัดการของหน่วยงานของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำหรับความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 450 คน มาจากการสุ่มโดยใช้สูตรในการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ตัวแปรอิสระที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกาย และกลุ่มที่ 2 ปัจจัยภายนอกบุคคล ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ และการปรับตัวในสังคมปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบสอบถามรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่น และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีค่าความเชื่อมั่นที่ .963 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) 
ใช้การหมุนแกนด้วยวิธี Equamax วิธีการประมาณค่า Principal Component Analysis (PCA) และวิเคราะห์เส้นทางระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วยโปรแกรมเอ็มพรัส ผลการวิจัยสรุป ดังนี้

           1. พื้นที่ที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยนี้สามารถแบ่งพื้นที่ได้ 3 ประเภท ประเภทที่ 1 พื้นที่อยู่อาศัย ประเภทที่ 2 คือพื้นที่ประกอบอาชีพ และประเภทที่ 3 พื้นที่ป่าไม้ อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำในพื้นที่และบนภูเขาสูงที่มีปัจจัยมากจากความเป็นเป็นชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่และความหนาแน่นของประชากรจึงมีการขยายพื้นที่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นพืชอาหารในครัวเรือนและป่าชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) ประเภทพืชอาหาร และ 2) ประเภทพืชสมุนไพร ซึ่งการประกอบอาหารเป็นอาหารท้องถิ่นตามวัฒนธรรมการกินของแต่ละชาติพันธุ์

            2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้รูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่น ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มี 6 องค์ประกอบ คือ ความพึงพอใจต่อการให้บริการ การทำประโยชน์เพื่อสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคม การประกอบอาชีพ ความเครียด และกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมด ได้ร้อยละ 71.177 จากตัวแปร 33 ตัวแปร ที่มีค่าถ่วงน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.573 – 0.848

            3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า

                3.1 ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกาย มีอิทธิพลทางตรงต่อรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีค่าขนาดอิทธิพลที่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                3.2 ปัจจัยภายนอกบุคคล ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ และการปรับตัวในสังคมปัจจุบัน มีอิทธิทางตรงและทางอ้อมต่อรูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากพืชท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยส่งผ่านตัวแปรปัจจัยภายในบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            4. แนวทางบริหารจัดการของหน่วยงานของจังหวัดแม่ฮ่องสอนควรมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่งคงทางอาหารที่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และดำเนินงานบริหารแผนด้วยผู้ที่กำหนดแผนเอง แผนต้องกำหนดจากพื้นฐานความต้องการของชุมชน กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐแบบบูรณาการตามหน้าที่ขององค์กรภาครัฐเพื่อไม่ให้ทับซ้อน และมีระบบ กลไกและกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์สู่คนรุ่นหลัง

Abstract

The purposes of this study were: 1) to study the benefit of food plant in the household and the community forest in Maehongson province, 2) to develop the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province, and 3) to arrange the manageable guideline of security and nutrition food plant: especially, for the government sectors in Maehongson province. A sample of 450 cases were drawn from the people who live in Maehongson province, using simple random sampling method by Taro Yamane. The independent variables were divided into two group which consisted of 1) the internal personal factors- the relationship of self-esteem, the life satisfaction, the mental health, and the physical health and 2) the external personal factor- the family relationship, the relationship between the people and the community, the relationship between the community and the government sectors, and the social adjustment. The research instrument was the questionnaire which asked about the model of local food management for earning money from local plant and the factors which influenced to the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province with a coefficient of .963. The statics used in this research were the Exploratory Factor Analysis (EFA) with Equamax rotation and the Principal Component Analysis (PCA) and the path analysis of factors which influenced to the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province by using the M Plus program for checking the causal relationship model of the model of local food management for earning money from local plant.     

The research findings were as follows:

            1. There were three areas in this research which were as follows: 1) the residential area, 2) the occupational area, and 3) the forestier area. The entire areas above were situated on the plain areas which were near the water resource and the high mountains. The land use and the population density were mainly involved via the ethnic factor to the extension of area. The plantation species the household and the community forest in Maehongson province were divided into two species which were 1) the food plants, and 2) the medicinal plants. The cooking should be the local food or menus from each ethnic culture.   

            2. The result of the indicators of the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province which were six elements as follows: 1) the service satisfaction, 2) the benefit for others, 3) the social relationship, 4) the occupation, 5) the anxiety, and 6) the activities promoting the occupation. Each element could be explained the total variance by 71.177% from 33 variables which the weight computation between 0.573-0.848

            3. The result of the factors which influenced to the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province were as follows:

                   3.1 The internal personal factors- the relationship of self-esteem, the life satisfaction, the mental health, and the physical health could be directly influenced to the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province which the statistical significance at the level of .01   

                   3.2 The external personal factor- the family relationship, the relationship between the people and the community, the relationship between the community and the government sectors, and the social adjustment could be the direct and indirect influences to the model of local food management for earning money from local plant in Maehongson province by conveying to the internal personal factors which the statistical significance at the level of .01

            4. The manageable guideline of the government sectors in Maehongson province should be specified the strategic planning of the food security with the clear-cut objectives and should be operated these plans by the one who specifies the plans by oneself. The plans must be operated from the requirement of the community which should be specified the integrated responsibility of the government sectors for avoiding the overlap works and should have the system and the transferring the process the knowledge of this management to the next generation.  

ไฟล์งานวิจัย

รูปแบบการจัดการอาหารท้องถิ่นฯ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

22 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่