ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

กระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองเพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์อาทิตย์ ศรีจันทร์ดร

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1441-64-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการการเรียนภาษาอังกฤษ และแนวทางการพัฒนาชุดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (3)  เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัด ประจำปี 2563 จำนวน 159 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

          ผลการวิจัย ด้านความต้องการการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ประกอบการของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความต้องการเรียนภาษาอังกฤษจำนวน 145 คน (จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 159 คน) คิดเป็นร้อยละ 91.20  โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการเรียนเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านภาษาอังกฤษ 1 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 57 คน  (คิดเป็นร้อยละ 35.8) สำหรับทักษะการเรียนภาษาอังกฤษที่ผู้ประกอบการมีความต้องการให้มีการเน้นเนื้อหาและทักษะเป็นอันดับแรก คือ ทักษะการพูด (จำนวน 106  คน คิดเป็นร้อยละ 66.7) ทักษะการฟัง (จำนวน 104  คน คิดเป็นร้อยละ 65.4) ทักษะการอ่าน (จำนวน 69  คน คิดเป็นร้อยละ 43.4) และทักษะการเขียน (จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8) 

ส่วนในด้านความคิดเห็นต่อกระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า การเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองช่วยเพิ่มความมั่นใจและความกล้าในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) และในด้านความคิดเห็นต่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองเพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.86)

Abstract

The objectives of this research were (1) to study the conditions and needs of English language learning and how to develop a set of English learning processes for communication among community entrepreneurs in Mae Hong Son Province. Moreover, (2) to develop English language self-learning package for communication among entrepreneurs in Mae Hong Son province and (3) to improve English language skills for communication among community entrepreneurs in Mae Hong Son province. The sample used in the research was 159 respondents using questionaries and interview forms as data collection tools.

         The research findings on the need for English learning among entrepreneurs in Mae Hong Son province found that 145 entrepreneurs and residents needed to learn English (out of 159 respondents), representing 91.20%t. In addition, most entrepreneurs (35.8%) desired to learn English one day a week. For English language skills, entrepreneurs wanted to focus on content and skills first, namely speaking skills (106 people, 66.7%), listening skills (104 people, 65.4%), reading skills (69 people, 43.4%), and writing skills (57 people, 35.8%). 

          Finally, the feedback and suggestions on the process of developing English self-learning package for entrepreneurs in Mae Hong Son province presented that learning English through self-learning package has increased the confidence and courage in communicating in English which showed the average was 4.13 (standard deviation = 0.68). besides, the comments on the further development of the self- learning package had demonstrated that respondents gave a high level of feedback which had an average of 4.08 (standard deviation = 0.86).

ไฟล์งานวิจัย

1.-ปกหลัก-สีขาว_Arthit.pdf

2-ปกใน-Title-Page_Arthit.pdf

กิตติกรรมประกาศ-completed_Done.pdf

บทคัดย่อ-completed_done.pdf

วิจัย บทที่ 1-5 completed.pdf

สารบัญ-completed_done.pdf

21 12 เม.ย. 2566

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่