ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การลดการเกิดไฟป่าโดยกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์ ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1443-64-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตก่อนและหลังเกิดไฟป่าและปรียบเทียบสภาพแวดล้อมก่อนและหลังเกิดไฟป่า ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ หมู่บ้านนาปลาจาด อำเภอเมือง หมู่บ้านห้วยไก่ป่า อำเภอแม่ลาน้อย และหมู่บ้านแม่ทะลุ อำเภอสบเมย ทำการเก็บตัวอย่างโดยการเก็บภาพถ่าย และแบบสอบถาม รวมทั้งข้อมูล GIS ของการเกิดไฟในพื้นที่ สํารวจพบว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตก่อนเกิดไฟป่า  โดยมีสมมติฐานหลักคือ การมีส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อการลดการเกิดไฟป่า และ กิจกรรมการสร้างแนวกันไฟเปียกมีผลต่อลักษณะของพื้นที่และส่งผลต่อการลดการเกิดไฟป่า สิ่งมีชีวิตสำรวจจากการใช้ประโยชน์ของชุมชนและจัดจำแนกตามอนุกรมวิธานโดยจัดจำแนกเป็นอาณาจักร และวงศ์ การเก็บตัวอย่างก่อนเกิดไฟป่า พบว่ามีสิ่งมีชีวิตที่ชุมชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกิดไฟป่า ลดลง จาก ทั้งหมด 3 อาณาจักร 37 วงศ์ และการเก็บตัวอย่างหลังเกิดไฟป่า พบว่ามีสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์ทั้งหมด 2 อาณาจักร 8 วงศ์ แต่ละชุมชนมีการเลือกพื้นที่ตัวแทนเพื่อจัดทำเป็นแนวกันไฟเปียก โดยผลกระทบของฤดูกาลมีผลต่อปริมาณความชื้นในดิน ที่พบว่าฤดูแล้งมีความชื้นน้อยกว่า โดยการกักเก็บน้ำในรูปแบบของฝายชะลอน้ำ และฝายภูมิปัญญาสามารถส่งผลต่อความชื้นและเกิดแนวพรรณพืชริมฝั่งเพื่อป้องกันการลุลามของไฟ และยังส่งผลถึงการย่อยสลายของเชื้อเพลิงและค่าความเป็นกรดด่างในดิน สมดุลน้ำในทั้งสามชุมชนมีปริมาณน้ำต้นทุนส่วนใหญ่จากปริมาณน้ำฝน มีการใช้หลักคือการเกษตร และการอุปโภคและบริโภค ในส่วนของการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการป้องกันและแก้ไข ในทั้งสามชุมชน และชุมชนมีแผนปฏิบัติการและมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่า โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนและความเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอกที่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยมีการวางแผนพัฒนาการป้องกันไฟป่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

Abstract

This study aims to reduce the forest fire area by using the integrated natural resources management by the local participation in 3 selected areas of Mae Hong Son Province as Na Pla Jad village, Muang District, Huay Kai Pa Village, Mae La Noi Village and Mae Tha Lu Village, Sop Maei District respectively.  The activities were in order to increase the potential local natural resources management and management balance, the data from environmental indices were also investigated in this study.  The environmental participation activities indices were conducted by survey method and interpreted by using the local data collection model and GIS program. The natural resources data were collected and compared in different conditions including wet and dry seasons. The geographical and moist data were collected from the selected sampling sites in the community forest. The overall data were analyzed by cluster analysis and another mathematical model for testing 2 main hypotheses as The local integrated management by local participation was related to the fire problem and environmental properties in wet fire brake were different from other areas The differences diversity of utility natural resources in dry and wet seasons has shown that 37 families reduce to 8 families. The water stock balance of this area was mainly from precipitation. The water consumption was mainly used for agricultural and domestic propose. The village selected the protected area for the wet fire brake investigation. The impacts of the wet fire brake were revealed as the soil moisture component had significantly higher than in the other areas, especially in dry seasons. Not only the water stock but the indigenous check dam was a potential solution for fire prevention but the riparian plant was a part of the wet fire break. Moreover, the biological indices were indicated by the fire break line, land used, soil moisture, and pH but not by the density of fire fuel in the study area. Whereas, the participation of citizens in the forest fire problem in three villages were ranging from moderate to high. The overall participation investigations in this forest fire problem are insufficient of the local-self-management and collaboration within the local community and outer organizations. Moreover, they have an annual plan and permanent participation to prevent the fire problem.

ไฟล์งานวิจัย

Full Report ไฟป่า_ลายน้ำ ทัตพร และคณะ.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :The 2nd International Conference on Science Teachnology and Innovation Favulty of Science Maejo University (ICSTI2nd) March 18,2022

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

28 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่