
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
แนวทางการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำแม่แตง เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวสีเขียว ในพื้นที่ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
นางสาวรุ่งนภา จุลศักดิ์
วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1456-64-ADIC-TSRI
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำแม่แตงด้านคุณภาพน้ำ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวสีเขียว ในพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ทำการศึกษาข้อมูลคุณภาพน้ำของลำน้ำแม่แตง และข้อมูลกิจกรรมการใช้น้ำจากชุมชน จากการเก็บแบบสอบถาม และนำข้อมูลจากทั้ง 2 ด้านมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสถิติ และวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
จากผลการวิเคราะห์ค่าคุณภาพน้ำผิวดินของลำน้ำแม่แตงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับค่าดัชนีคุณภาพน้ำผิวดิน (WQI) อยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นคุณภาพน้ำบริเวณกลางน้ำถึงท้ายน้ำในช่วงฤดูร้อนที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นบริเวณแก่งกื้ด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้รับความนิยม จากกิจกรรมทางน้ำ และปางช้าง
สำหรับแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำแม่แตง ด้านคุณภาพน้ำ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวสีเขียวของตำบลกื้ดช้าง ได้แก่ 1) สนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางน้ำ
2) จัดลำดับความสำคัญและกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ของลำน้ำแม่แตง 3) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในแหล่งท่องเที่ยว หรือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน 4) มีมาตราการในการเฝ้าระวัง ควบคุม และลดปริมาณน้ำทิ้งจากชุมชน แหล่งท่องเที่ยว และเกษตรกรรม และ 5) สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำ รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำ
Abstract
This research aims to suggest a guideline to conservation and restoration water quality in Maetaeng River and hope that it will lead to enhancing and improving Green Tourism in the area. The study was conducted in Kuedchang, Maetaeng, Chiangmai by examining and testing water quality in the stream and by surveying water usage activities in the communities using questionnaires. The results from both terms were analyzed to determine statistical relationships and then combining with geospatial analysis by geoinformation system.
According to the surface water quality tests, it is found that the overall water quality of Maetaeng River can be categorized as 3rd Surface Water Quality which is sufficient for agricultural use. The result corresponds to the surface water quality index which is in a good condition. These exclude, the quality of the water in summer time ranged from midstream to downstream, which resulted in deteriorated states due to tourism related activities at Kaengkued, a rapid, which is a popular tourist attraction for water activities and recreations.
To summarize the study, the guideline which suggests conservation and restoration of water quality of Maetaeng River improving and lifting up Green Tourism for Kuedchang subdistrict is introduced. The guideline suggests as followings; 1. Water preservative related tourism shall be introduced and promoted. 2. Prioritization and scope of use of Maetaeng River should be determined. 3. Water treatment system shall be installed for each community, tourist attraction, and water recreation spot. 4. Measures for monitoring, controlling, and reducing waste water disposal from communities, tourist spots, and agricultural activities should be initiated. 5. Community’s engagement and awareness for water pollution monitoring need to be raised and promoted.
ไฟล์งานวิจัย
28 07 ต.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th