
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์โดยใช้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์
อาจารย์จุฑารัตน์ เปลวทอง
คณะครุศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1462-64-EDU-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์ ก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่ม แบ่งการศึกษาวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับของสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ภาคปกติ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดสุขภาวะทางจิต การศึกษาวิจัยระยะที่ 2 เปรียบเทียบสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์ ก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 8 คน ได้มาจากการรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมตามความสมัครใจ (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์ จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ทดสอบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีระดับสุขภาวะทางจิตโดยรวมในระดับปานกลาง 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนสุขภาวะทางจิตก่อนการทดลอง (Pretest) มีคะแนนเฉลี่ย 129.50 และระยะหลังการทดลอง (Posttest) มีคะแนนเฉลี่ย 156.25 ซึ่งสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (Pretest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Abstract
This study is quasi-experimental research. The purposes of this study were 1) to study level of psychological well-being in of Undergraduate Students of Faculty of Education of Chiangmai Rajabhat University. 2) to compare the psychological well-being of the university students both before and after participating in a group counseling program. The study was divided into 2 phases: Phase 1 study level of psychological well-being in of Undergraduate Students of Faculty of Education of Chiangmai Rajabhat University. The subjects were 350 of Undergraduate Students of Faculty of Education of Chiangmai Rajabhat University in the academic year 2022. The research instrument was Psychological Well-being of Undergraduate Students inventory. The data were analyzed by mean, standard deviation. Phase 2 compare the psychological well-being of the university students before and after participating in a group counseling program. The subject were 8 volunteers were willing to participate as an experimental group. The instrument used in the experiment was gestalt group counseling program to enhanced psychological well-being. In this quasi-experimental research, the method of the one group pretest and posttest group design was used. The data were analyzed by the Wilcoxon signed-rank test.
The results of the study were as follows: 1) The total Psychological Well-being mean scores of Undergraduate Students revealed moderate. 2) Psychological well-being scores of experimental group before participating in the gestalt group counseling and after participating in the gestalt group counseling were statistically significant different at the 0.05 level.
ไฟล์งานวิจัย
11_ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ.pdf
12_ภาคผนวก ข แบบวัดสุขภาวะทางจิต.pdf
8 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555