
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
เทคนิคการเพาะเห็ดถุงอย่างง่ายสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครูเกษตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา ทะพิงค์แก
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1464-64-AGRI-CMRU
บทคัดย่อ
นักศึกษาครูเกษตรเมื่อออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทางโรงเรียนมักมอบหมายให้รับผิดชอบงานด้านการเพาะเห็ด อย่างไรก็ตามโรงเรียนมักขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ งานวิจัยนี้จึงได้พยายามพัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดถุงอย่างง่าย โดยพัฒนาวิธีการผลิตเชื้อเห็ดนางรมฮังการีอย่างง่ายจากเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดสดเพาะบนอาหารเมล็ดข้าวฟ่างที่ฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ จากนั้นทำการเพาะเชื้อเห็ดลงบนวัสดุเพาะ (ฟางข้าว) เพื่อให้ออกดอก ทดลองทำการเปรียบเทียบวิธีการเตรียมวัสดุเพาะ คือ การนึ่ง การต้ม การแช่น้ำ การแช่สารละลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และการแช่สารละลายยิปซัม ผลการศึกษาพบว่าการต้มฟางข้าวส่งผลให้เวลาออกดอกนานและผลผลิตของเห็ดต่ำกว่าวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะของฟางข้าว การแช่ฟางข้าวในน้ำเปล่ามีเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแช่ฟางข้าวด้วยสารละลายยิปซัมเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้งาน เพราะทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฝึกสอน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากกระบวนการผลิตเห็ด
Abstract
Agricultural teacher students, when they go out to practice their professional teaching experience, the school is often assigned to be responsible for growing mushrooms. However, schools often lack available materials. The research therefore attempted to develop a simple technique of growing bagged mushrooms. A simple method for producing Pleurotus ostreatus Hungarian mother spawned from fresh mushroom tissues was developed in sorghum seed medium disinfected with hydrogen peroxide. The mother spawn were then inoculated on the substrate (rice straw) for flowering. The experiment was conducted to compare the methods of preparing the substrate, i.e. steaming, boiling, soaking, soaking in hydrogen peroxide solution and soaking in gypsum solution. The results showed that boiling rice straw results in the time to flowering and the yield of mushrooms was statistically significantly lower than other methods. This was consistent with the results of the analysis of the nutrient value of rice straw. Soaking rice straw in plain water had the highest statistically significant percentage of contamination. Soaking rice straw with gypsum solution is the most suitable method to use because it is easy to do, labor-saving and cost effective, reducing the risk of accidents that may occur during teaching practice. In addition, it can reduce air pollution problems caused by the mushroom production process.
ไฟล์งานวิจัย
5 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555