
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อ การฟัง พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.วรศิริ บุญซื่อ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1468-64-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถการฟัง พูด 2) สำรวจปัญหาการฟัง พูด และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟัง พูดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 308 คน ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟัง แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูด แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการฟัง พูด และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบความสามารถด้านการฟังและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถการฟังอยู่ระดับพอใช้ (M = 34.81 SD = 6.66) และ ความสามารถการพูดระดับพอใช้ (M = 27.16 SD = 6.78) 2) นักศึกษาไม่มีปัญหาการฟังเมื่อพิจารณาแยกตามวัตถุประสงค์การฟังและไม่มีปัญหาการพูดเมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบความสามารถการพูด และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้พูดหรือเรื่องที่ฟัง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
Abstract
This study aimed at investigating 1) English listening and speaking proficiency levels 2) problems in listening and speaking and 3) factors affecting English listening and speaking skills of undergraduate students at Chiang Mai Rajabhat University.
A sample of 308 fourth-year undergraduate students using English for communication during their internship were purposively selected. The research instruments were a listening test, a speaking test, a questionnaire about factors affecting their listening and speaking, and a semi-structured interview. Data collected from a listening test and a speaking test was analyzed by percentage, mean, and standard deviation. Data collected from questionnaires was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regression Analysis. Data from the interview was analyzed through Content Analysis.
The results showed that 1) the students’ listening proficiency level was at the moderate level (M = 34.81 SD = 6.66), similar to their speaking proficiency level (M = 27.16 SD = 6.78); 2) the students did not have problems in listening when considered by purposes of listening, nor problems in speaking when considered by elements of speaking; and 3) the factors affecting their listening at 0.05 level of significant were input factor, speaker and listening text factor, and teaching and learning factor; the factors affecting their speaking at 0.05 level of significant were learner factor, and teaching and learning factor.
ไฟล์งานวิจัย
หน้า 104 ผนวก จ เกณฑ์การประเมินการพูด_speaking done.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :พิฆเนศวร์สารปีที่ 18 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565 หน้า 17 - 33
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
7 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555