
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การเคลื่อนไหวของผู้หญิงปกาเกอะญอในการเรียกร้องสิทธิชุมชน บ้านสบลาน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ปลินดา ระมิงค์วงศ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1472-64-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวในพื้นที่สาธารณะของผู้หญิงปกาเกอะญอเพื่อเรียกร้องสิทธิชุมชน 2) ศึกษาทุนประเภทต่าง ๆ ที่ผู้หญิงปกาเกอะญอนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิชุมชน 3) เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงปกาเกอะญอได้แสดงความคิดเห็นต่อความสำคัญของสิทธิชุมชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้หญิงปกาเกอะญอจากบ้านสบลานจำนวน 10 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่างที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวในพื้นที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องสิทธิชุมชนนั้น ส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติในระดับชีวิตประจำวันที่มีความเกี่ยวพันกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติภายในบริเวณชุมชนเพื่อยังชีพ การทำไร่หมุนเวียน การทอผ้า และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับลูกหลาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน รวมถึงการเข้าร่วมการชุมนุมต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิชุมชนด้วย
พวกเธอมีการใช้ทุนทางวัฒนธรรมในรูปแบบของการทำไร่หมุนเวียนผ่านการประกาศพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ทุนทางสังคมในรูปแบบของการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกชุมชน และทุนทางสัญลักษณ์ในรูปแบบของการนำเสนอตัวตนการเป็นผู้ดูแลป่าให้กับสังคม พวกเธอมองว่าตนเองมีความสำคัญต่อชุมชนทั้งจากการทำหน้าที่ของผู้หญิงปกาเกอะญอและการทำหน้าที่สมาชิกของชุมชน การยอมรับและมองเห็นคุณค่าในตนเองทำให้พวกเธอสามารถออกไปร่วมเรียกร้องสิทธิให้ชุมชนยังคงมีการดำรงวิถีชีวิตแบบเดิมต่อไป
Abstract
The objectives of this research were: 1) to study the practice demonstration movement in demonstrating in public spaces by Pw aka nyaw women to claim community rights;
2) to study the different types of capital that Pw aka nyaw women use in the community right movement; and 3) to create a space for Pw aka nyaw women to express their opinions on the importance of community rights. This research is a qualitative research conducted by employing a documented study, in-depth interviews, non-participant observations, and focus group discussion with 10 Pw aka nyaw women from Sob Lan Village. The results indicate that most of the demonstration practices are everyday life practices related to the use of natural resources within the community for subsistence, rotational farming, weaving, and transferring knowledge to children to demonstrate the importance of resources to oneself, the family, and the community, including by participating in various rallies to claim community rights. They use cultural capital in the form of rotational farming through the declaration of special cultural areas, social capital in the form of participation in activities both within and outside the community, and symbolic capital in the form of presenting the forest guardian identity to society. They see themselves as important to the community both through the functioning of Pw aka nyaw women and the members of the community. Self-acceptance and self-worth allow them to go out and claim the right for the community to live a traditional way of life.
ไฟล์งานวิจัย
3 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555