
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการบริการวิชาการบนฐานความต้องการของชุมชนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชัชชญา ชุติณัฐภูวดล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1475-64-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ในองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ การพัฒนารูปแบบ และการประเมินรูปแบบการบริการวิชาการบนฐานความต้องการของชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารรายงานการประเมินตนเองในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ 3 ปีย้อนหลัง (ปีการศึกษา 2562 – 2564) ผลความต้องการการรับบริการวิชาการและผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้การรับบริการวิชาการในด้านต่าง ๆ ของคณะ 3 ปีย้อนหลัง (ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 – 2564) และแบบสอบถามความต้องการของชุมชนและผู้รับบริการที่มีต่อรูปแบบการบริการวิชาการ
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการบริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ทั้ง 3 ปีการศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน เนื่องจากคณะมีระบบ กลไก และแผนที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ และตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสังคม อีกทั้งยังสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ โดยมีรูปแบบการบริการวิชาการ ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดฝึกอบรม 2) ด้านการจัดประชุมสัมมนา 3) ด้านการบริการชุมชน 4) ด้านการเผยแพร่ผ่านสื่อและสิ่งพิมพ์ และ 5) ด้านการเป็นกรรมการและที่ปรึกษา โดยชุมชนมีความต้องการต่อรูปแบบการบริการวิชาการด้านการบริการชุมชนมากที่สุด และผู้รับบริการความต้องการต่อรูปแบบการบริการวิชาการด้านการจัดฝึกอบรมมากที่สุด
Abstract
The purpose of this research was to analyze the results of internal educational quality assurance at the faculty level. In component 3, academic service, the development of models and assessment of academic service models based on community needs, Faculty of Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Rajabhat University. Data were collected from the study of the self-assessment report document in the internal educational quality assessment at the faculty level for the past 3 years (Academic Year 2019-2021), the results of the need for academic services and the results of the satisfaction survey of those receiving academic services in Various aspects of the Faculty for the past 3 years (Fiscal Year 2019-2021) and a questionnaire on the needs of the community and service recipients towards the academic service model.
The results showed that Implementation of academic services of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Rajabhat University for all 3 academic years had a very good evaluation, with an average score of 5 because the Faculty had a system, mechanism and a clear plan for the implementation of academic services and meet the needs of the community, local and society, and also meet the criteria for quality assurance of internal education at the faculty level. The academic service models consists of 1) training arrangements 2) seminars 3) community service 4) dissemination through media and publications and 5) being a director and advisor. The community had the greatest need for a models of community service academic service and service recipients most demanded on the models of academic service in the field of training.
ไฟล์งานวิจัย
5 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555