ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงของกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชนเผ่าลีซู ในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์พิชญพรพรรณ ศรีมูลเรือง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1476-64-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูและความต้องการในการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) หมู่บ้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู  จำนวน 4 หมู่บ้านในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หมู่บ้านแปกแซม  หมู่บ้านสามหมื่น  หมู่บ้านแม่แตะ และหมู่บ้านเลาวู วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและความต้องการในการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนที่ 2  สร้างรูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และขั้นตอนที่ 3 การใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis Phase) การสำรวจ (Surveys) และการสังเกต (Observations) การสัมภาษณ์ (In depth Interviews) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยมีดังนี้

               1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูและความต้องการในการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยความต้องการ 8 ด้านคือ ความต้องการการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ ด้านการมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ด้านการตัดสินใจในระดับพอเพียงอย่างมีเหตุผล ด้าน                  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ด้านการรอบรู้ที่เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ  ด้านการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและอดทน และด้านการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

               2) รูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ คือ รูปแบบ LISHU MODEL ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1  Local search engine  ขั้นตอนที่ 2  Interview for Information ขั้นตอนที่ 3 Social Impact  ขั้นตอนที่ 4  Humanity Behavior change และขั้นตอนที่ 5 Unique unity  

               3) ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูบ้านแปกแซม บ้านสามหมื่น  บ้านแม่แตะ และบ้านเลาวู อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ผู้วิจัยจัดกิจกรรมอบรมตามขั้นตอนของรูปแบบและกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่เข้ารับการอบรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  พบว่า สามารถพัฒนาการเสริมสร้างพลังทางสังคมที่มีผลต่อวิถีชีวิตพอเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

Abstract

 

ไฟล์งานวิจัย

วิจัยฉบับสมบูรณ์ รวมไฟล์ ลายน้ำ.pdf

20 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่