ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

กลยุทธ์การสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล


อาจารย์ศิโรช แท่นรัตนกุล

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1478-64-MGT-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล 2) เพื่อค้นหากลยุทธ์การสร้างสรรค์และการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3) เพื่อระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ทำการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) โดยการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์และวิเคราะห์ตัวบท (Texture Analysis) เพื่อค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล และ ส่วนที่ 2 ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเลือกเจาะจงกลุ่ม นักสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล จำนวน 15 คน เพื่อค้นหากลยุทธ์และเทคนิคการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์  ผลการวิจัยพบว่า สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัลมีรูปแบบการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทั้งในเรื่องของกระบวนการทำงาน องค์ประกอบ กลยุทธ์และเทคนิคการออกแบบ รวมถึงปัจจัยสู่การเป็นนักสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลมืออาชีพ โดยกลยุทธ์การสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ 1) กลยุทธ์การนำเสนอจุดแข็งของสินค้าโดยตรง 2) กลยุทธ์การสร้างความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 3) กลยุทธ์การสร้างจุดเด่นเชื่อมโยงกับตัวสินค้า 4) กลยุทธ์การอิงกับคู่แข่งขัน 5) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และ 6) กลยุทธ์การเล่นกับกระแส ในส่วนของเทคนิคการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ เทคนิคก่อนการผลิตสื่อ และ เทคนิคระหว่างการผลิตสื่อ โดยเทคนิคก่อนการผลิตชิ้นงานนั้นมีอยู่ 3 เทคนิค ประกอบด้วย  1) ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis Skill)  2) ความเข้าใจในงานออกแบบ (Design Understanding) และ 3) ศึกษาศิลปะเพื่อสุนทรียภาพ (Art for Aesthetics) ส่วนเทคนิคระหว่างการออกแบบ มี 6 เทคนิค ประกอบด้วย 1) การใช้สัญลักษณ์ (Symbolism) 2) ความเรียบง่าย (Simplicity) 3) การผสมผสาน (Integration) 4) หลักความแตกต่าง (Contrast) 5) เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริง (3D) และ 6) สมัยนิยม (Trends) สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้ ความสามารถ (Knowledge and Competence Development) 2) การสร้างตัวตน (Identity) 3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Connection)  4) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) และ 5) รสนิยมที่ดี (Taste)

Abstract

The objectives of this research were 1) to synthesize the knowledge of print media for advertising and public relations in the digital Age, 2) to find strategies for creating digital print media for advertising and public relations, and 3) to identify the success factors of the creation and design of digital print media for advertising and public relations. This research is qualitative and uses research methods to be divided into two parts. Part 1 is a document analysis study by collecting data from books, articles, and research related to creating and designing digital publications for advertising and public relations, including text analysis to find the knowledge of print media for advertising and public relations. Part 2 uses an in-depth interview by selecting a group of 15 Graphic Designer to find out strategies and digital print media techniques for advertising and public relations in.

            The research found that digital print media for advertising and public relations in the digital era has changed dramatically regarding workflow, composition, strategy, and design techniques. It also includes the factors for becoming creative and designing professional print media. The strategy for creating digital print media for advertising and public relations in the digital era consists of 6 strategies, namely 1) Present product strength, 2) Creating consistency with target, 3) Creating strengths connect to product, 4) Based on competitor, 5) Product Differentiation and 6) Ride the wave. In terms of digital print media design, advertising, and public relations techniques are commonly used in the digital age. It can be divided into pre-production techniques and techniques during media production. There are three techniques before production, consisting of 1) Analysis Skill, 2) Design Understanding, and 3) Art for Aesthetics. As for the techniques during media production, there are six techniques, consisting of 1) Symbolism, 2) Simplicity, 3) Integration, 4) Contrast, 5) 3D Perspective technology), and 6) Trends. Furthermore, there are six factors of success in creating and designing digital print media for advertising and public relations:1) Knowledge and Competence Development, 2) Identity, 3) Connection, 4) Communication Skills, and 5) Taste.

ไฟล์งานวิจัย

1.ปก-วิจัย-.pdf

2.ปกใน-.pdf

3.-กิตติกรรมประกาศ-.pdf

4.-บทคัดย่อ-.pdf

5.-Abstract-.pdf

6.-สารบัญ-.pdf

7.-บทที่-1-บทนำ-.pdf

8.-บทที่-2-แนวคิดทฤษฎี-.pdf

9.-บทที่-3-วิธีดำเนินงานวิจัย-.pdf

10.-บทที่-4-ผลการวิจัย-.pdf

11.-บทที่-5-สรุป-อภิปรายผล-และข้อเสนอแนะ-.pdf

12.-บรรณานุกรม-.pdf

13.ภาคผนวก-.pdf

14. - จริยธรรมในมนุษย์-.pdf

15.-ประวัติผู้วิจัย-อ.ดร.ศิโรช.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2566): มกราคม - มิถุนายน 2566 หน้า 81 - 106

ปีที่ตีพิมพ์ :2566

6 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่