
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์กับการรู้เท่าทันสื่อข่าวลวงของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์อัญมณี ภักดีมวลชน
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1481-64-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาระดับการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อกับการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุ และ 6) เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวลวงไปเผยแพร่ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการนำร่องกลุ่มตัวอย่างให้ผู้สูงอายุใช้แอปพลิเคชั่นไลน์อย่างรู้เท่าทัน ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 9 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อแอปพลิเคชั่นไลน์ทุกวัน มีจำนวนชั่วโมงในการใช้ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ใช้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด โดยใช้แอปพลิเคชั่นไลน์มามากกว่า 6 ปี มีความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิชั่นไลน์อยู่ในระดับมาก 2) ผู้สูงอายุมีระดับการรู้ เท่าทันข่าวลวงอยู่ในระดับมาก 3) ลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการรู้เท่าทันข่าวลวงแตกต่างกัน 4) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุในทิศทางบวก โดยผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการเปิดรับแอปพลิเคชั่นไลน์มากจะมีการรู้เท่าทันมาก 5) เพศ อายุ รายได้ ความถี่ในการเปิดรับสื่อ ระยะเวลาในการเปิดรับสื่อ ประสบการณ์ในการเปิดรับ ส่งผลต่อการรู้เท่าทันข่าวลวงของผู้สูงอายุ และ 6) ผลการวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้นำข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวลวงไปเผยแพร่ให้แก่ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
The aims of this research are: 1) to study the behavior of using the LINE application among the elderly in Chiang Mai 2) to study the knowledge level of fake news among the elderly in Chiang Mai 3) to study and compare demographic characteristics media exposure behavior and literacy of fake news among the elderly in Chiang Mai 4) to study the relationship between media usage behavior and knowledge of fake news among the elderly in Chiang Mai 5) to study the factors affecting the level of knowledge of fake news among the elderly, and 6) to disseminate information from research on fake news literacy to disseminate to the elderly in Chiang Mai. This research is a pilot sample for the elderly to use the LINE application knowingly. The researcher conducts this research using Mixed Method through survey research. There was a sample group of 400 elderly people, an in-depth interview, 9 elderly people aged 60 years and over. The sample consisted of 400 elderly people, collecting data using questionnaires. In addition, the researcher used an in-depth interview with nine elderly people, who are aged 60 years and over.
The results of the study showed that 1) the elderly had behaviors of daily exposure to LINE applications. There are 1-2 hours of use per day. Most used via mobile phone using LINE application for more than 6 years. And most of the samples had a high level of satisfaction with using the LINE application. 2) The elderly had a high level of fake news literacy. 3) The demographic characteristics of the elderly had different media exposure and fake news literacy behaviors. 4) The demographic characteristics of the elderly and the behavior of using the LINE application were positively correlated with the elderly's knowledge of fake news. The elderly who are highly exposed to the LINE application will have a lot of fake news literacy. 5) Gender, age, income, frequency of media exposure, length of media exposure, and experience of media exposure affect the elderly's literacy of fake news. 6) The results of the above research, the researcher has brought the research information on the knowledge of fake news to disseminate to the elderly in Chiang Mai Province.
ไฟล์งานวิจัย
3.-กิตติกรรมประกาศ อ.ดร.อัญมณี.pdf
4. บทคัดย่อ-ภาษาไทย-อ.ดร.อัญมณี.pdf
6. สารบัญ-อ.ดร.อัญมณี ภักดีมวลชน.pdf
7.-บทที่-1-บทนำ อ.ดร.อัญมณี.pdf
8.-บทที่-2-แนวคิดทฤษฎี-อ.ดร.อัญมณี.pdf
9.-บทที่-3-วิธีดำเนินงานวิจัย อ.ดร.อัญมณี.pdf
10.-บทที่-4-ผลการวิจัย อ.ดร.อัญมณี.pdf
11.-บทที่-5- สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อ.ดร.อัญมณี.pdf
4 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555