
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดของวิทยุท้องถิ่นในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล
อาจารย์ ดร.อุไร ไชยเสน
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1484-64-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดของวิทยุท้องถิ่นในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดของวิทยุท้องถิ่นในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดของวิทยุท้องถิ่นในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล และ 3) เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลและวิทยุท้องถิ่นนำไปใช้ประโยชน์เพื่อความอยู่รอดในยุคการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันด้วยดิจิทัล ศึกษาจากเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการของวิทยุชุมชน วิทยุสถาบันการศึกษา วิทยุของรัฐ และวิทยุเอกชน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สถานีวิทยุมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มช่องทางใหม่ในการเผยแพร่รายการ ประชาสัมพันธ์รายการและกิจกรรมของสถานีมากที่สุด รองลงมาคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง ลำดับสาม คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการรับฟังรายการย้อนหลัง ทักษะสำคัญทางด้านการใช้สื่อดิจิทัลที่บุคลากรควรได้รับการพัฒนา คือ ทักษะทางด้านแพลตฟอร์ม ทักษะทางด้านการสร้างสรรค์เนื้อหา ทักษะทางด้านการตลาดดิจิทัล ทักษะทางด้านการเล่าเรื่องข้ามสื่อ ทักษะทางด้านการเล่าเรื่อง ทักษะทางด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง ทักษะด้านการรู้เท่าทันเทคโนโลยี และทักษะด้านการรู้กฎหมายไซเบอร์ ผลการศึกษาพบว่าแนวทางที่สามารถพัฒนาศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัล คือ รูปแบบการเรียนออนไลน์มีความเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต รูปแบบการจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้ และรูปแบบส่งเสริมบุคลากรเข้าร่วมพัฒนาทักษะกับหน่วยงานภายนอก ตามลำดับ
Abstract
This qualitative study is titled Approaches to Developing the Potential of Digital Media for Survival of Local Radio in the Age of Digital Disruption. It aims 1) to explore the current situation, problems, and needs of developing the potential of using digital media, 2) to create guidelines for developing the potential of using digital media, and 3) to convey guidelines for developing the potential of using digital media and local radio to take advantage. This research conducted data from 16 executive and operational staff of radio stations from community radio, public service radio, and business radio. The tools used in the research consisted of non-participant observation questionnaires, in-depth interviews, and group discussions.
The results show that radio stations used digital technology to add a new channel for broadcast, and promote the program and activities of the station the most, followed by using it for interaction with listeners and listening to the broadcasted programs.
The results showed that people should develop essential skills in digital media: platform skills, content creation skills, digital marketing skills, transmedia skills, storytelling skills, interaction with listeners skills, technology literacy skills, and skills in cyber law knowledge.
The study's results revealed that the approach that can improve the potential of using digital media was the online learning model with the most opinions, followed by the lifelong learning model, knowledge management model, and support personnel to develop skills with external agencies.
ไฟล์งานวิจัย
9 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555