ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาความรู้ความเข้าใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโคโรนาไวรัส COVID-19 ในขณะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


วรางคณา สินธุยา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1492-64-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองในขณะที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคไวรัส  โคโรนา2019 ในกลุ่มเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 18 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ทั้งหมดจำนวน 205 คน

ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้ จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยก่อนได้รับการอบรมเท่ากับ 11.80+1.88 และคะแนนหลังได้รับการอบรมเท่ากับ 13.20+1.44 เมื่อทดสอบความแตกต่างของคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรม แตกต่างกันและมีผลการประเมินหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด19 กับระดับความรู้หลังการอบรมให้ความรู้ พบว่า ปัจจัยการรับรู้ระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด19 กับความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมให้ความรู้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(r) 0.187 กล่าวคือหากกลุ่มตัวอย่าง อสม. มีการรับรู้ระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด19 มากก็จะยิ่งส่งเสริมระดับความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา2019 มากขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมในเรื่องของการรับรู้ข่าวสารความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคควบคู่กับการให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ

Abstract

This study is quasi-experimental research. The study aims to study safety behavior and COVID-19 prevention knowledge. The sample consists of 205 village health volunteers from 18 villages in Lamphun Province. 

The results showed that the average score of knowledge in the pre-test was 11.80+1.88, and the post-test was 13.20+1.44, and a significant difference was found between the pre-test and post-test scores at α = 0.05.  The correlation relation revealed a positive correlation in the perceived severity of COVI-19 and post-test knowledge at r = 0.187.  In conclusion, If the village health volunteers were more aware of the severity of COVID-19, they would have protected themselves from the disease. As a result, the government and the public health sector should promote and support disease-related news and information, as well as disease epidemiology training for village health volunteers, in order to reduce the risk of infection.

ไฟล์งานวิจัย

Abstract_eng.pdf

Abstract_thai.pdf

Acknowledgments.pdf

Chapter_1.pdf

Chapter_2.pdf

Chapter_3.pdf

Chapter_4.pdf

Chapter_5.pdf

Content.pdf

COVER_1.pdf

COVER_2.pdf

Profile.pdf

Reference.pdf

ภาคผนวก ก.pdf

ภาคผนวก ข.pdf

ภาคผนวก ค.pdf

8 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่