
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การจัดการสารเหลือทิ้งที่มีทองแดงเจือปน เพื่อเตรียมเป็นสารเคมีสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ
ลักษณ์นารา คำรศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1493-64-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการเสนอแนวทางการจัดการสารเหลือทิ้งที่มีทองแดงเจือปน ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ และนำทองแดงที่แยกได้เตรียมเป็นสารประกอบ Cu(NO3)2 และ CuSO4 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสารเคมีและลดการปล่อยโลหะหนักสู่สิ่งแวดล้อม สารเหลือทิ้งจะถูกรวบรวมและจำแนกประเภท ก่อนเข้าสู่กระบวนการแยกโลหะทองแดงด้วยเทคนิคซีเมนเตชัน โดยใช้โลหะสังกะสีเป็นตัวรีดิวซ์ จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสม คือ 2 M H2SO4 เป็นตัวทำละลาย ที่อุณหภูมิ 30 oC ใช้เวลาในการสกัด 90 นาที สามารถแยกโลหะทองแดงออกจากสารเหลือทิ้งได้ คิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนักเท่ากับ 68.2 และโลหะทองแดงที่แยกได้มีความบริสุทธิ์เท่ากับ 80.8%จากนั้นนำโลหะทองแดงที่แยกได้ทำปฏิกิริยากับ conc.HNO3 เพื่อเตรียมเป็น Cu(NO3)2 ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ Cu:HNO3 (g:mL) เท่ากับ 4:10 ในขณะที่ CuSO4 เตรียมได้จากปฏิกิริยาของโลหะทองแดงกับ 30% H2O2 และ conc.H2SO4 ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ Cu:H2O2:H2SO4 (g:mL:mL) เท่ากับ 3:10:3 วางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องจนกระทั่งเกิดผลึก ได้ร้อยละผลผลิตของ Cu(NO3)2 และ CuSO4 เท่ากับ 42.9% และ 43.1% ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่าสารประกอบ Cu(NO3)2 และ CuSO4 ที่สังเคราะห์ได้มีคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพเทียบเท่ากับสารเคมีที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการได้อีกด้วย
Abstract
In this work, we propose the idea to recover copper from laboratory waste and transform into self-synthesized chemicals, i.e. Cu(NO3)2 and CuSO4, to diminish the budget of chemical supplying and to decrease the discharge of heavy metals into environments. Copper-contained wastes generated in experiments for education, research, and examination purposes were collected and classified. Metallic copper was then recovered from waste via the cementation process, using zinc as the reductant in 2M H2SO4 at 30 oC for 90 min. The percentage yield and purity of the recovered copper were 68.2% and 80.8%, respectively. The obtained copper reacted to conc. HNO3 with the studied suitable ratio of Cu:HNO3 (g:mL) at 4.10, while CuSO4 was prepared from the reaction of copper and 30% H2O2 and conc.H2SO4 with the ratio of Cu:H2O2:H2SO4 (g:mL:mL) at 3:10:3. All processes were simply done at the ambient without any complicate and expensive apparatus. Both crystals occurred in a few days. Percent yields of Cu(NO3)2 and CuSO4 were 42.9% and 43.1%, respectively. From the application of these chemicals as the reagent in both qualitative and quantitative analysis, the results are not different in using these commercial available chemicals and the synthesized ones.
ไฟล์งานวิจัย
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย.pdf
บทที่ 4 ผลและการอภิปรายผลการวิจัย.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference 2022 (PACCON 2022) ระหวางวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 ณ KMITL Convention Hall, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok, Thailand
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
3 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555